หลักสูตรกว้าง (The Broad-Field Curriculum)
หลักสูตรกว้าง
มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้าน
พัฒนาการ/วิวัฒนาการหลักสูตร
หลักสูตรกว้างเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ โดยวิชาที่สอนนี้กล่าวถึงแผ่นดินแถบลุ่มแม่น้ำเทมส์และกิจกรรมต่างๆของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นแผ่นดินนั้น เป็นการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ หลายวิชามาศึกษาในเวลาเดียวกัน
สหรัฐอเมริกาเริ่มนำเอาหลักสูตรนี้มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1914 จัดทำเป็นวิชากว้างๆ เรียกว่าสถาบันสังคมและเศรษฐกิจ
ประเทศไทยได้นำหลักสูตรมาใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยเรียงลำดับเนื้อหาต่างๆที่มีความคล้ายคลึงกันไว้ในหลักสูตรและให้ชื่อวิชาเสียใหม่ให้มีความหมายกว้าง ครอบคลุมวิชาที่นำมาเรียงลำดับไว้
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. จุดหมายของหลักสูตรมีความกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ ที่นำมารวมกันไว้
3. โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า
ตัวอย่างของหลักสูตรแบบนี้คือ หลักสูตรการศึกษาของไทย ปี พ.ศ. 2503
ลักษณะของหลักสูตร
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีขอบเขตกว้างขึ้น อาจครอบคลุมไปถึงผลที่เกิดขึ้นกับสังคม
2. นำจุดประสงค์การเรียนรู้ของแต่ละวิชามารวมกันเป็นจุดประสงค์ของหมวดวิชา
3. โครงสร้างของหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาจึงได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า โดยไม่มีการผสมผสานกันแต่อย่างใด หรือมีน้อยมาก
ข้อดี
1. เนื้อหาวิชามีการประสานสัมพันธ์กันมากขึ้น เกิดการผสมผสานความรู้ ทำให้ ผู้เรียนมีความรอบรู้ในแต่ละหมวดวิชากว้างขวางขึ้น ตามความต้องการหรือตามความสนใจของตน เกิดความคิดรวบยอด (concept) ได้ง่ายขึ้น และสามารถนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. เนื้อหาวิชาที่เรียนไม่ซ้ำซ้อนกัน
3. บริหารหลักสูตรได้คล่องตัวขึ้น เพราะมีลักษณะเป็นหมวดวิชา
4. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำกิจกรรม การเรียนรู้ได้หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนจึงทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายในการเรียน
ข้อด้อย
1. ไม่เกิดการผสมผสานความรู้เท่าที่ควร เนื่องจากการสอนของครูยังยึดวิธีสอนแบบเดิม คือแยกสอนเป็นแต่ละวิชา แทนที่จะสอนแบบผสมผสานวิชา
2. การที่ผู้เรียนได้รับความรู้ที่กว้างขวางขึ้น อาจทำให้ขาดความรู้ที่ลึกซึ้งในเนื้อหา หรือไม่มีการแม่นยำในความรู้นั้น ๆ และความรู้ที่ได้รับไม่เป็นระเบียบเท่าที่ควร
3. ขาดความสัมพันธ์กับหมวดวิชาอื่น ๆ
4. การสอนอาจไม่บรรลุประสงค์ เนื่องจากครูผู้สอนต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกันต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนมาก หรืออาจจะไม่มีความรู้ในบางวิชาดีพอ
(วีดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรกว้าง)
สรุปหลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้างหรือหลักสูตรรวมวิชา เป็นหลักสูตรที่พยายามจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา ซึ่งขาดการผสมผสานของความรู้ให้เป็นหลักสูตรที่มีการประสานสัมพันธ์ของเนื้อหาความรู้ที่กว้างยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น