กิจกรรม สัปดาห์ที่ 3

1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง นิยาม ความหมาย : ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ 
หลักสูตรนิยาม ความหมาย•

             “หลักสูตร” หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้ 

สมิธ (Smith, M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม หลักสูตร ตามทฤษฏีและการปฏิบัติหลักสูตรมี 4 ทิศทางดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2.หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3.หลักสูตรเป็นกระบวนการd
4.หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น 

ทฤษฎีหลักสูตร นิยาม ความหมาย 

                “ทฤษฎี (Theory) มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์

•ความสำคัญของทฤษฎี•
          ตามทัศนะของโบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 11) กล่าวว่า ความสำคัญของทฤษฎีจะช่วยให้เราเข้าใจ 3 ประการ ได้แก่ (1.) บอกให้ทราบปรากฏการณ์ต่างๆ (2.) อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น (3.) ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

•การสร้างทฤษฏีหลักสูตร•

           โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories

1.) ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories)


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล


              Zais (1976: 431-437) ได้สรุปการออกแบบหลักสูตร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร แบบ คือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design) และหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanisticdesign) หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่า คนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ 4 ทาง ได้แก่


1.) ความมีเหตุผล (Rationalism) นำไปสู่ความจริง
2.) การสังเกต (Empiricism) รับรู้ได้จากการมอง การได้กลิ่น การได้ยิน การสัมผัส
3.) สัญชาตญาณ (Intuition) ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าว
4.) อำนาจ (Authoritarianismเช่น ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์บอกไว้

2. ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories

                ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินหลักสูตรและระบบหลักสูตร

                ถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร 

                ทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น 


กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model


           à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ แบบจำลอง SU Model

             กระบวรการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำ ซึ่งแบ่งสามเหลี่ยมใหญ่ออกเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ สี่ช่อง หมายถึง 4 ขั้นตอนในกระบวนการ


             ช่องแรก ส่วนบนสุด อยู่ติดกับมุมความรู้ คือ "การวางแผนหลักสูตร" (Curriculum Planning)
               
             อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ คำถามแรกคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร ต้องมีการกำหนดจุดมุ่หมายของหลักสูตร


              ช่องที่สอง อยู่ที่มุมของผู้เรียน หรือมุมซ้าย คือ "การออกแบบหลักสูตร" (Curriculum Design)
             
             เป็นการนำจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ โดยหลักสูตรที่จัดทำขึ้นจะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือมีผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการและด้านการพัฒนาผู้เรียน


           ช่องที่สาม เป็นส่วนของ "การจัดระบบหลักสูตร" (Curriculum Organize) ซึ่งอยู่ตรงส่วนของสามเหลี่ยมตรงกลางที่เป็นเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมช่องแรก โดยในทางปฎิบัตินั้นการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์คือ จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ กระบวนการบริหารที่สนับสนุนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน จะมีบทบาทสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม


           ช่องสุดท้ายสามเหลี่ยมรูปี่สี่ คือส่วนของขั้นตอน "การประเมิน" (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม


ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
         ในการศึกษารูปแบบ หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้   Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่ คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง  Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร CurriculumConstruction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษาCurriculum – lmprovement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน
           ในกรณีที่มองหลักสูตรว่า เป็นวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรก็จะกล่าวถึงในการเลือกเนื้อหา การจัดการเนื้อหาลงในระดับชั้นต่างๆ เซเลอร์ (J. Galen Saylor)   กาและอเล็กซานเดอร์ (William M. Alexander) ได้สรุปสูตรทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตรแต่ละวิชาและเนื้อหาสาระดังนี้
1.ใช้การพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดหรือตัดสินว่าจะสอนวิชาอะไร
2.ใช้เกณฑ์บางอย่าง ในการเลือกเนื้อหาสำหรับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
3.วางแผนวิธีการสอนที่เหมาะสม และใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรอบรู้ในเนื้อหาที่เลือกมาเรียน
1.ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
1.มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่โรงเรียนควรแสวงหา
2.มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้นจะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3.จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4.จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
คำถามทั้ง 4 ประการนี้ ตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร 4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ 1. การตั้งเป้าประสงค์ 2. การเลือกเนื้อหา 3. การสอน และ4. การประเมินผล
2.ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
ได้กล่าวถึงลำดับขั้นในการพัฒนาหลักสูตรไว้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนธรรมชาติของความรู้ เพื่อนำมาเป้นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์
ขั้นที่ 2  กำหนดจุดประสงค์ของการศึกษา โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลักในการพิจารณา
ขั้นที่ 3 คัดเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับความต้องการและความจำเป็นของสังคม โดยคัดเลือกมาให้เรียนโดยเฉพาะที่ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 4  จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของเนื้อหาวิชาที่คัดเลือกมา
ขั้นที่ 5  คัดเลือกประสบการณ์การเรียน โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวิธีสอนแบบต่างๆ เป็นแนวทาง
ขั้นที่ 6 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียน
ขั้นที่ 7 ประเมินผล เป็นขั้นที่จะทำให้ทราบว่าการพัฒนาหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยปกติจะพิจารณาจากผลของการใช้หลักสูตร นั่นคือ พิจารณาว่าผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมเพียงใด
ขั้นที่ 8 ตรวจสอบความคงที่ และความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน โดยตรวจสอบตามแนวของคำถามที่มีลักษณะดังนี้
1.เนื้อหาวิชาที่จัดขึ้นเกี่ยวข้องกับจุดประสงค์หรือไม่
2.ประสบการณ์การเรียนได้ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์หรือไม่
3.ประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นมีความเหมาะสมเพียงใด
3.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเคอร์
เคอร์ (John F. Kerr) เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร เรียกว่าเป็นOperational Model มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้มาจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่
1.ระดับพัฒนาการ ความต้องการ และความสนใจของนักเรียน
2.สภาพปัญหา และความต้องการของสังคมที่นักเรียนต้องเผชิญ
3.ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาและชนิดของการเรียนรู้
นำจุดมุ่งหมายมาคัดเลือกและจัดอันดับ โดยนำเอารูปแบบการจำแนกประเภทจุดประสงค์ทางการศึกษาของบลูม (Benjamin S. Bloom) และคณะ ที่แบ่งจุดประสงค์ทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธวิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย มาช่วยในการพิจารณาจำแนกจุดประสงค์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ขั้นต่อไป ได้แก่ การจัดประสบการณ์การเรียน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาที่จัดไว้แล้ว และในการจัดประสบการณ์การเรียนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น ความพร้อมของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน วิธีสอน เป็นต้น
ขั้นสุดท้าย ได้แก่ การประเมินผล ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร โดยใช้วิธีการหลายวิธี เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้น    เคอร์ได้ใช้ลูกศรโยงระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรเป็นการเน้นว่า องค์ประกอบเหล่านั้นจะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน

4.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี
เลวี (Arich Lewy) ได้กล่าวถึงขั้นตอนและงานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการเรียน และขั้นดำเนินการ
1.ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น 3  ขั้นตอน ย่อยๆ ได้แก่การเลือกจุดมุ่งหมายเลือกเนื้อหาวิชา เลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นย่อยๆ ได้แก่ การสร้างวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน จัดวัสดุอุปกรณ์ตามรายวิชา ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่ และปรับปรุงแก้ไข
3. ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเตรียมจัดระบบงาน ฝึกอบรมครู ปรับปรุง แก้ไขระบบการสอน ประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ควบคุมคุณภาพ ปรับปรุงและนำมาใช้ใหม่
5.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สสวท.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิทายาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาและประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2519ในการพัฒนาหลักสูตรนอกจากจะปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาด้านแผนการเรียนการสอนและการวัดผลอีกด้วย
หลักของการพัฒนาหลักสูตร
จากรูปแบบและทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร สรุปเป็นหลักของการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
1.ใช้พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม จิตวิทยา และวิชาความรู้ต่างๆ
2.พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและความจำเป็นต่างๆสังคม
3.พัฒนาให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4.พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักของการเรียนรู้
5.ในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน จะต้องพิจารณาความเหมาะสมในด้านความยากง่าย ลำดับก่อนหลัง และบูรณาการของประสบการณ์ต่างๆ

2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ "การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีหลักสูตร"
ตอบ
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานในการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นจริงในการพัฒนาหลักสูตรนั้นต้องประกอบไปด้วยพื้นฐานอย่างน้อย 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา พื้นฐานด้านสังคม ซึ่งในแต่ละพื้นฐานมีความสำคัญดังต่อไปนี้

พื้นฐานด้านปรัชญา
เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านความรู้
กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) โดยมีความเชื่อว่า ระบบการศึกษาควรเน้นหนักในการศึกษาความรู้และวัตฒนธรรม เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรม และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีความเชื่อว่า  ระบบการศึกษาควรเน้นการจัดประสบการณ์ให้ได้มาซึ่งความรู้ ความคิดที่เป็นสัจธรรม มีคุณธรรม และมีเหตุผล
เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านผู้เรียน
กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) โดยมีความเชื่อว่าการศึกษามีความสำคัญในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านสังคม
กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดว่า  ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ดังนั้นปรัชญาปฏิรูปนิยม จึงมีความเชื่อว่า การศึกษาควรเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการปฏิรูปสังคม

พื้นฐานด้านจิตวิทยา
ในการจัดทำหลักสูตรจำเป็นต้อง ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนักพัฒนาหลักสูตรจะนำมาใช้เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร กำหนดเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนรู้ จิตวิทยาการเรียนรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติการเรียนรู้ และปัจจัยทางวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดของนักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้มี 4 กลุ่ม ใหญ่ๆด้วยกัน ได้แก่ 1) ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม 2) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม 3) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม 4) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสร้างสรรค์นิยม
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา นอกจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้แล้ว ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียน ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
โดนัล คลาก (Donald Clark, 2004:1) กล่าวว่าขั้นตอนวิเคราะห์ ข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความจำเป็นและมีประโยชน์มาก เมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเสนอโปรแกรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ดังนี้
  • จำนวนผู้เรียน
  • ที่ตั้งของโรงเรียน
  • การศึกษาและประสบการณ์ของผู้เรียน
  • ภูมิหลังของผู้เรียน
  • แรงจูงใจของผู้เรียน
  • ระดับความสามารถในการปฎิบัติงานที่ต้องการ กับระดับทักษะในปัจจุบัน
  • ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียน สิ่งเร้าของผู้เรียน
  • ลักษณะทางกานภาพหรือความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน
  • ความสนใจพิเศษหรืออคติของผู้เรียน

พื้นฐานด้านสังคม
ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมที่สำคัญที่ควรศึกษาวิเคราะห์เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพสังคม แนวคิดของพัฒนาการทางสังคม 4 ยุค คือ ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล ยุคข้อมูลฐานความรู้ และยุคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำหลักสูตรว่าจะมีแนวปฎิบัติในการจัดทำหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตรอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับผู้เรียนในยุคสมัยต่างๆ ประการสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสังคมมุ่งการสร้างเครือข่ายหรือความร่วมมือของชุมชน ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร การกำหนดวิชาเรียนต่างๆ เพราะบางราบวิชาสภาพชุมชนไม่ส่งเสริมเท่าที่ควร ก็อาจเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชนและสังคมที่โรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปใช้ในการบริหารและจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://pawitracur2.blogspot.com/
http://thanatcha06550036.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น