กิจกรรม (Activity)
1.ฝึกปฏิบัติวางแผนการประเมินหลักสูตรครอบคลุมกระบวนการหลักสูตรทั้งหมด
ตอบ
ขอบเขตในการประเมินหลักสูตร
เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and
Alexander, 1981 : 265) ได้กล่าวถึงขอบเขตของการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้
1.การประเมินจุดมุ่งหมายของโรงเรียน
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาและจุดมุ่งหมายในการสอน
2.การประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด
3.การประเมินผลการเลือกเนื้อหาและการจัดประสบการณ์เรียนและกิจกรรม
4.การประเมินผลการสอบ
5.การประเมินผลโครงการประเมินผล
หลักเกณฑ์การประเมินหลักสูตร
1.
มีจุดประสงค์ในการประเมินที่แน่นอน
การประเมินผลหลักสูตรจะต้องกำหนดลงไปให้แน่นอนชัดเจนว่าประเมินอะไร
2.
มีการวัดที่เชื่อถือได้
โดยมีเครื่องมือและเกณฑ์การวัดซึ่งเป็นที่ยอมรับ
3.
ข้อมูลเป็นจริงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผล ดังนั้น ข้อมูลจะต้องได้มาอย่างถูกต้องเชื่อถือได้และมากพอที่จะใช้เป็นตัวประเมินค่าหลักสูตรได้
4.
มีขอบเขตที่แน่นอนชัดเจนว่าเราต้องการประเมินในเรื่องใดแค่ไหน
5.
ประเด็นของเรื่องที่จะประเมินอยู่ในช่วงเวลาของความสนใจ
6.
การรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์
และกำหนดเครื่องมือในการประเมินผล จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
7.
การวิเคราะห์ผลการประเมินต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบ
และให้มีความเที่ยงตรงในการพิจารณา
8.
การประเมินผลหลักสูตรควรใช้วิธีการหลายๆวิธี
9.
มีเอกภาพในการตัดสินผลการประเมิน
10.
ผลต่างๆที่ได้จากการประเมินควรนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรทั้งในด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป
เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดีและมีคุณค่าสูงสุดตามที่ต้องการ
ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
1.
ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมินการกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร
ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร
จะทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้อง
2.
ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล
การกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการประเมิน
เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน
การกำหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลทำให้เราสามารถดำเนินงานไปตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น
3.
ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง
4.
ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
ในขั้นการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
5.
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล
พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
6.
ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะสรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น
ผู้ประเมินจะต้องพิจารณารูปแบบของการรายงานผลว่าควรจะเป็นรูปแบบใด
และการรายงานผลจะมุ่งเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรมีคุณภาพหรือไม่
เพียงใด มีส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิก
7.
ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป
2. ฝึกเขียนระบุเกณฑ์คุณภาพหลักสูตรที่พึงประสงค์
ตอบ S
= Standard เป็นขั้นแรกของการประเมินหลักสูตร กล่าวคือ
ประเมินผลต้องตั้งสิ่งมาตรฐานที่ต้องการวัดไว้ก่อน
P
= Performance หลักจากดำเนินการขั้นแรกเรียบร้อยแล้ว
ผู้ประเมินจะต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือการปฏิบัติจริง ในสิ่งที่ต้องการวัดให้เพียงพอ
ข้อมูลที่รวบรวมความเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมที่ชัดเจน
C
= Compare เมื่อตั้งมาตรฐานและรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ก็นำข้อมูลมาเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้
D
= Discrepancy จากการเปรียบเทียบข้อมูลกับมาตรฐานที่กำหนดไว้
ผู้ประเมินพบว่ามีช่องว่างอะไรที่เกิดขึ้นกับผลที่คาดหวัง
D
= Decision Making
ผู้ประเมินจะส่งผลผลประเมินไปให้ผู้ที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนการประเมินดังกล่าว สามารถอธิบายเป็นรูปแบบดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น