กิจกรรม (Activity)
1.สืบค้นจากหนังสือหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ตอบ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน
ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม
มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก
ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ
ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต
โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาย
6 มาจาก หลักการ 6 ประการ
5 มาจาก จุดหมาย 5 ประการ
5 มาจาก สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ
8 มาจาก คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ
8 มาจาก มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระ
(Strans) 67 มาตรฐานตัวบ่งชี้
3 มาจาก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 ประการ
วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน
ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม
มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก
ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ
ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต
โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า
ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการมี 3 ประการดังนี้
1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ
มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้
ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน
ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ
ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4.
เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้
เวลาและการจัดการเรียนรู้
5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ
นอกระบบ และตามอัธยาศัย
ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
จุดหมาย
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ ได้กำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง
มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.
มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4. มีความรักชาติ
มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม
และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
5 ประการ ดังนี้
1.
ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด
ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง
ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง
ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2.
ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์
การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ
เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3.
ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ต่าง
ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ
เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้
ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง
สังคมและสิ่งแวดล้อม
4.
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ
ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน
และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล
การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม
และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5.
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้
เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม
ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน
การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4.
ใฝ่เรียนรู้
5.
อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ
มาตรฐานการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล
ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา ได้กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้
1.
ภาษาไทย
2.
คณิตศาสตร์
3.
วิทยาศาสตร์
4.
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
5.
สุขศึกษาและพลศึกษา
6.
ศิลปะ
7.
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8.
ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้
ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม
และค่านิยม
ที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ
ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้
รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้
มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม
นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา
จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน
และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน
1.
ตัวชี้วัดชั้นปี
เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่
3)
2
. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ 4-
6)
หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
เพื่อความเข้าใจและให้สื่อสารตรงกัน ดังนี้
ว 1.1 ป. 1/2
ป.1 /2 ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข้อที่ 2
1
.1 สาระที่ 1
มาตรฐานข้อที่ 1
ว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ต 2.2 ม.4 -6/ 3
ม.4 -6/3 ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อที่ 3
2
.3 สาระที่ 2 มาตรฐานข้อที่ 2
ต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1
.กิจกรรมแนะแนว
2.กิจกรรมนักเรียน
3.
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา :
กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา กรุงเทพฯ : บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด 2552
ตอบ
1. หลักสูตรแกนกลาง หมายถึง
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีรายละเอียดแสดงให้เห็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่
1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำไปใช้จัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งสำหรับการจัดการศึกษาทุกกลุ่ม เช่น การศึกษาพิเศษ
การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ เป็นต้น
โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน
2. หลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง
หลักสูตรระดับท้องถิ่นซึ่งสถานศึกษานำข้อมูลสภาพที่เป็นปัญหาหรือความต้องการในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณลักษณะอันพังประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ มาจัดทำสาระของหลักสูตร
และจัดการเรียนรู้โดยยึดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบหรือแนวทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3. มาตรฐานการเรียนรู้ หมายถึง
ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมของแต่ละกลุ่มเพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งกำหนดเป็น
2 ลักษณะ คือ
1. มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น มาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นมาตรฐานการเรียน รู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
เมื่อผู้เรียนจบในแต่ละช่วงชั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 และ 6
ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์
ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์และโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
วิสัยทัศน์
· เป็นเจตนารมณ์
อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ อนาคตที่พึงประสงค์ เป็นการคิดไปข้างหน้า มีเอกลักษณ์
· สามารถสร้างศรัทธา
และจุดประกายความคิดในสภาพการพัฒนาสูงสุด
· วิสัยทัศน์ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังนี้
1.
แสดงภาพที่พึงพอใจในอนาคตอย่างชัดเจน
2.
แสดงถึงเจตนารมณ์ อุดมการณ์ของสถานศึกษา
3. สามารถสร้างศรัทธา
/ จุดประกายความคิดของบุคลากร
4.
มีเอกลักษณ์ชัดเจน
5.
สอดคล้องกับสภาวะข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
6.
บ่งบอกภารกิจของสถานศึกษา
7.
สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา
8.
มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายทั้งในโรงเรียนและชุมชน
9.
มีความเป็นไปได้
10.
มีระยะเวลาที่แน่นอน
ภารกิจ
เป็นการแสดงวิธีดำเนินงานของสถานศึกษา
เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติต่อไป ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้
1.
แสดงถึงงานที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน
2.
สะท้อนถึงวิธีดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้
3.
มีการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนในการดำเนินงาน
4.
ตรงกับบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา
เป้าหมาย
เป็นความคาดหวังด้านคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตร
ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา และจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังนี้
1.
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
2.
สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.
มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างชัดเจน
มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้เฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น
สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน
สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนมาตรฐานการเรียนรู้ที่เข้มขึ้นตามความสามารถความถนัด
และความสนใจของผู้เรียนให้สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมได้
4.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ
คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่บ่งบอกถึงระดับคุณภาพที่คาดหวังจะให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากได้ผ่านกระบวน
การเรียนรู้ในแต่ละปีการศึกษา หรือแต่ละภาคเรียน
5.
สาระการเรียนรู้ หมายถึง ที่องค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
6.
สาระการเรียนรู้แกนกลาง หมายถึง รายละเอียดที่เป็นองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ
คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
ที่กระทรวงศึกษาธิการวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระและช่วงชั้นของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้สถานศึกษาเทียบเคียง
ตรวจสอบ และปรับใช้กับสาระการเรียนรู้พื้นฐานที่การศึกษากำหนด
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
เป็นคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่สถานศึกษากำหนดขึ้น
เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างค่านิยมที่ดีให้แก่ผู้เรียนตามจุดเน้นของหลักสูตร และหรือ
ตามนโยบายของสังคมระดับประเทศประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้
1.
กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนาด้านคุณภาพ จริยธรรม และค่านิยม
2.
กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนาไว้ชัดเจนทุกช่วงชั้น
3.
กำหนดตัวบ่งชี้ในการพัฒนาที่นำไปปฏิบัติได้จริง
4.
มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการประเมินไว้ชัดเจน
5.
มีการกำหนดวิธีการประเมิน
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นการแสดงให้เห็นถึงมวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรที่ผู้เรียนได้ศึกษาอยู่ในสถานศึกษานั้นๆ
โดยแบ่งเป็นช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ) ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6)
ช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 ) ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
-6 )
ในแต่ละช่วงชั้นแสดงให้เห็นสาระการเรียนรู้ทั้งพื้นฐานและเพิ่มเติมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รวมทั้งกำหนดสัดส่วนเวลาหรือหน่วยคิดของแต่ละสาระการเรียนรู้เป็นรายปี / รายภาค
หรือรายสัปดาห์ ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้
1.
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
2.
สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
3.
มีการกำหนดสัดส่วนเวลาระหว่างสาระการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม
4.
มีการกำหนดสัดส่วนเวลาระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ อย่างเหมาะสม
5.
มีหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้
6.
มีหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการกับวิถีชีวิตของผู้เรียน
7.
มีรายวิชาพื้นฐาน/ หน่วยการเรียนรู้ครบตามกำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
8.
มีรายวิชาเพิ่ม / หน่วยการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
9.
รายวิชาพื้นฐาน / หน่วยการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
แผนภูมิแนวทางกำหนดเวลาเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ช่วงชั้นที่ 1
(ป. 1 – 3) ช่วงชั้นที่ 2
(ป. 4 – 6) ช่วงชั้นที่ 3
(ม. 1 – 3) ช่วงชั้นที่ 4
(ม. 4 – 6)
เวลา
800 – 1,000 ซม. / ปี
(4 – 5 ซม. / วัน)
1,000 – 1,200 ซม. / ปี
(5 – 6 ซม. / วัน) ไม่น้อยกว่า
1,200 ซม. /
ปี
ไม่น้อยกว่า6
ซม. / วัน
สาระพื้นฐาน
1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์
3.
วิทยาศาสตร์
4.
สังคมศึกษาฯ
5.
สุขศึกษาฯ
6.
ศิลปะ
7.
การงานฯ
8.
ภาษาต่างประเทศ
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้สามารถทำได้โดยการเอาสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชาไปบูรณาการ
แล้วการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อยๆ เพื่อความสะดวกในการจัดการเรียนรู้
และผู้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม มีแนวทางในการจัดทำได้หลายวิธี ดังตัวอย่าง เช่น
วิธีที่
1 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี / ภาค ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี /
การจากคำอธิบายรายวิชาจำแนกเป็นเรื่องย่อยๆ แล้วนำเรื่องย่อยๆ
ที่สอดคล้องกันมารวมกันเป็นหน่วยการเรียนรู้ แล้วตั้งชื่อหน่วย
วิธีที่
2 นำความคิดรวบยอดของสาระการเรียนรู้จากคำอธิบายรายวิชามาวิเคราะห์เป็นหน่วยย่อย
ตั้งเป็นหัวข้อเรื่อง แล้วนำสาระต่างๆ หรือเรื่องย่อยๆ
ที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้
แล้วตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ให้น่าสนใจ
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
อาจบูรณาการทั้งภายในและระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะสาระการเรียนรู้
หรือเป็นการบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน
คำอธิบายรายวิชา
เป็นการสะท้อนภาพรวมของคุณภาพของผู้เรียนที่แสดงออกด้านความรู้
ทักษะ กระบวนการควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
หลังจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในแต่ละปีหรือแต่ละภาค
โดยกำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
รวมทั้งสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน
และกำหนดจำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิตที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้
แนวการเขียนคำอธิบายรายวิชา
กำหนดไว้ดังนี้
จัดทำคำอธิบายรายวิชา
จัดทำได้โดยการนำเอาผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค
รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดมาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชาโดยให้ประกอบด้วย
ชื่อรายวิชา รหัสวิชา
จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิตผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค
และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้นๆ ซึ่งสามารถเขียนคำอธิบายรายวิชาได้หลายรูปแบบ
เช่ฯ
รูปแบบที่ 1
เขียนเป็นความเรียงเสนอภาพรวมของผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้ทั้ง 3
ด้าน
รูปแบบที่ 2 เขียนแยกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
-
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง : เขียนเป็นความเรียง สรุปภาพรวมของผลการเรียนรู้ทั้ง 3
ด้าน
-
สาระการเรียนรู้ : เขียนเป็นความเรียงของขอบข่ายเนื้อหา
รูปแบบที่ 3 เป็นความเรียง ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
-
ขอบข่ายกิจกรรมที่กำหนดกว้างๆ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของรายวิชา
-
ขอบข่ายเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของรายวิชา
-
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างกว้างๆ
รูปแบบที่ 4 เป็นความเรียง ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
-
จุดประสงค์ของรายวิชาที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้รายวิชา
-
ขอบข่ายสาระการเรียนรู้
-
กิจกรรมการเรียนรู้
-
วิธีการวัดและประเมินผล
รูปแบบที่ 5 เขียนแยกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
-
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง : เขียนให้เป็นครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน เป็นข้อๆ
โดยไม่แยกด้าน
-
สาระการเรียนรู้เขียนเป็นข้อๆ
สำหรับชื่อรายวิชามีแนวทางในการกำหนดดังนี้
ชื่อรายวิชาของสาระเรียนรู้ให้ใช้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ส่วนรายวิชาที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติมสามารถกำหนดตามความเหมาะสม ทั้งนี้
ต้องสื่อความหมายได้ชัดเจนมีความสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ทีกำหนดไว้ในรายวิชานั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น