รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตก




            รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค (The Stake’s Congruence Coontingeny Model)                        



PowerPoint รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตก
ผังความคิดรูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตก


         สเตค ได้เสนอแนวคิดในการประเมินหลักสูตรว่า ผู้ประเมินต้องทราบข้อมูลที่แท้จริงให้ได้ เพื่อจะ
อธิบายและตัดสินในสิ่งที่กำลังศึกษานั้นคือ การประเมินควรพิจารณาอย่างครอบคลุม มิใช่ส่วนหนึ่งส่วนใด
ของโครงสร้าง
          สเตค ได้เสนอแนะให้ทำการประเมินองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
                 1) การประเมินสิ่งที่มีอยู่ก่อน (Antecedents) ประเมินสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่กับการดำเนินการใช้หลักสูตรหรือสภาพเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ ในการดำเนินโครงการ
                 2) การประเมินกระบวนการ (Transactions) การประเมินเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ประเมินกิจกรรมการดำเนินการ กิจกรรมที่ปฏิบัติ
                 3) การประเมินผลผลิต (Outcomes) ประเมินความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนหรือผลของการนำ
โครงการไปปฏิบัติการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตร
          รูปแบบการประเมินประกอบด้วยกิจกรรม 2 อย่าง คือ
                 1. ข้อมูลเชิงบรรยาย (โดยสำรวจความสอดคล้องระหว่างสภาพกับผลการที่เกิดขึ้น)
                 2. ข้อมูลเชิงตัดสินใจ (โดยเปรียบเทียบข้อมูลในข้อ 1) กับเกณฑ์มาตรฐาน/โครงการอื่นๆ   


                                                   ตารางการวิเคราะห์หลักสูตรของสเตค

เกณฑ์ในการวิเคราะห์หลักสูตร
ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์หลักสูตร
ข้อมูลเชิงบรรยาย
ข้อมูลเชิงตัดสิน
ผลที่คาดหวัง
ผลที่เกิดขึ้น
มาตรฐานที่ใช้
การตัดสินใจ
1. สภาพก่อนเริ่มโครงการ
 - บุคลิกและนิสัยของนักเรียน
 - บุคลิกและนิสัยของครู
 - เนื้อหาในหลักสูตร
 - อุปกรณ์การเรียนการสอน
 - บริเวณโรงเรียน
 - ชุมชน
2. กระบวนการในการเรียน
 - การสื่อสาร
 - เวลาที่จัดให้
 - ลำดับของเหตุการณ์
 - การให้กำลังใจ
 - สภาพสังคมหรือบรรยากาศ
3. ผลที่ได้รับจากโครงการ
 - ความสำเร็จของนักเรียน
 - ทัศนคติของนักเรียน
 - ทักษะของนักเรียน
 - ผลที่ครูได้รับ
 - ผลที่สถาบันได้รับ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น