วีดีโอเสริมความรู้การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น







               การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างมากเพราะนอกจากภาระที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแล้ว การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำเพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในชุมชนท้องถิ่นของตน การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 312-314) ได้เสนอวิธีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 2 ลักษณะ คือ
               1. การประเมินหลักสูตรแกนกลางให้เข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้ในประเทศไทยเป็นหลักสูตรในส่วนกลางและได้ใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีมาตรฐานขั้นต่ำทางด้านการศึกษาในระดับเดียวกัน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้กว้างขวางในระดับประเทศเช่นนี้จึงมีเนื้อหาสาระซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นอยู่บ้าง ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำการปรับเนื้อหาของหลักสูตรบางส่วนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่นได้
               2. การสร้างหลักสูตรย่อยในระดับท้องถิ่นขึ้นมาเสริมหลักสูตรแกนกลาง สำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน

                กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น   อุดม เชยกีวงศ์  (2545, หน้า 33-37) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดังนี้
               1. การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน เป็นการศึกษาความเป็นอยู่ของชุมชนและผู้เรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างแท้จริง
                2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดความต้องการ
                3. การจัดทำผังหลักสูตร
               4. การเขียนแผนการสอน
                              4.1 การกำหนดหัวข้อเรื่อง
                              4.2 การเขียนสาระสำคัญ
                              4.3 การกำหนดขอบเขตเนื้อหา
                              4.4 การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทาง
                              4.5 การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง
                              4.6 การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
                              4.7 การกำหนดสื่อการเรียนการสอน
                5. การจัดการเรียนการสอน
                6. การประเมินผล

               สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 314-315) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับท้องถิ่น ให้เป็นไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน ดังนี้
               ขั้นที่ 1 จัดตั้งคณะทำงาน
                ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐาน
                ขั้นที่ 3 กำหนดจุดมุ่งหมายสำหรับหลักสูตรท้องถิ่น
                ขั้นที่ 4 พิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรกลางกับสภาพของท้องถิ่น
               ขั้นที่ 5 ดำเนินการเลือกเนื้อหาสาระของหลักสูตร และ/หรือจัดสร้างรายวิชาขึ้นมาใหม่
                ขั้นที่ 6 ดำเนินการใช้หลักสูตร
               ขั้นที่ 7 ประเมินผลการใช้หลักสูตร
               ขั้นที่ 8 ทำการปรับปรุงแก้ไข

               นอกจากนี้ นิรมล ศตวุฒิ (2543, หน้า 119-120) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามขั้นตอน ดังนี้
               1. จัดตั้งคณะทำงาน
               2. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
               3. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                4. เลือกและจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
               5. กำหนดเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
               6. ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรก่อนนำไปใช้
               7. เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร
               8. นำหลักสูตรไปใช้
               9. ประเมินหลักสูตร

ขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.kroobannok.com/3731


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น