บทที่ 10
การประเมินหลักสูตร
มโนทัศน์(Concept)
ในการทำงานหรือการประกอบกิจการใดก็ตามจะมีขั้นตอนในการดำเนินงานขั้นตอนหนึ่งซึ่งจะขาดเสียมิได้คือการประเมินผล
(Evaluation) เพื่อให้ทราบว่าการทำงานหรือประกอบกิจกรรมนั้นๆ
ได้ผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใดมีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้างเพื่อที่จะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพัฒนาต่อไปในทางการศึกษาก็เช่นกันการที่จะทราบว่าการจัดการศึกษาบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงใดนั้นส่วนหนึ่งที่จะประเมินผลได้คือการประเมินหลักสูตร
การประเมินผลหลักสูตรเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นว่าการกำหนดหลักสูตรไปใช้จะได้ผลมากน้อยเพียงใดเพราะฉะนั้นการประเมินหลักสูตรจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและผลที่ได้จากการประเมินหลักสูตรจะเป็นข้อมูลในการตัดสินเพื่อแก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
1. มีความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
เรื่อง การประเมินหลักสูตร
2. สามารถให้คำแนะนำในการประสานตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินหลักสูตร
สาระเนื้อหา(Content)
การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรเป็นขั้นตอนในการศึกษาคุณค่าของว่าดีหรือไม่อย่างไรบกพร่องในส่วนไหนเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงหลักสูตรในโอกาสต่อไปการประเมินหลักสูตรนั้นมีขอบเขตและระยะการประเมินแตกต่างกันออกไปแล้วแต่จุดประสงค์ของการประเมินเช่นการประเมินเอกสารหลักสูตรในระยะก่อนนำหลักสูตรไปใช้การประเมินการใช้หลักสูตรในขณะที่ดำเนินการใช้หลักสูตรหรือประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตรและประเมินระบบหลักสูตรหลังจากการใช้หลักสูตรแล้วการประเมินผลหลักสูตรนั้นต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัดว่าต้องการประเมินอะไรข้อมูลที่นำมาประเมินต้องเชื่อถือได้การวิเคราะห์ผลการประเมินต้องทำอย่างรอบคอบ
การประเมินหลักสูตรต้องทำเป็นกระบวนการตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินวางแผนและออกแบบการประเมินรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลรายงานและสรุปผลการประเมินเพื่อที่จะนำผลที่ได้จากการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไปจากขั้นตอนการประเมินนักศึกษาได้พัฒนารูปแบบการประเมินไว้หลายรูปแบบเป็นต้นว่ารูปแบบการประเมินหลักสูตรที่สร้างเสร็จใหม่ๆ
ซึ่งเป็นการประเมินผลก่อนการนำหลักสูตรไปใช้เช่นรูปแบบการประเมินหลักสูตรด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบปุยแซงค์หรือรูปแบบการประเมินหลักสูตรในระหว่างหรือหลังการใช้หลักสูตรเช่น
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์, สเตค, สตัฟเฟิลบีมหรือดอริสโกว์
แต่ละรูปแบบแม้จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปเราก็สามารถนำแนวคิดในการประเมินหลักสูตรมาประยุกต์เป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการจะประเมินนั้นๆ
ได้
1. ความหมายของการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศตลอดจนกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อนำมาตัดสินค่าหรือคุณภาพของหลักสูตรนั้นนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรไว้ต่างๆ
กันดังนี้คือ
กู๊ด (Good, 1945 : 209) ได้ให้ความหมายไว้ว่าการประเมินหลักสูตรคือการประเมินผลของกิจกรรมการเรียนภายในขอบข่ายของการสอนที่เน้นเฉพาะจุดประสงค์ของการตัดสินใจในความถูกต้องของจุดมุ่งหมายความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของเนื้อหาและผลสัมฤทธิ์ของวัตถุประสงค์เฉพาะซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจในการวางแผนการจัดโครงการต่อเนื่องและการหมุนเวียนของกิจกรรมโครงการต่างๆ
ที่จะจัดให้มีขึ้น
ลี ครอนบาช (Lee
J. Cronbach, 1970: 231)
ให้ความหมายว่าการประเมินหลักสูตรคือการรวบรวมข้อมูลและการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจในเรื่องโปรแกรมหรือหลักสูตรการศึกษา
สตัฟเฟิลบีมและคณะ (Stufflebeam Daniel L. et., 1971: 128)
ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่าการประเมินหลักสูตรคือกระบวนการหาข้อมูลเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ดีกว่าเดิม
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521 : 192)
ให้ความหมายของประเมินหลักสูตรไว้ว่าการประเมินหลักสูตรเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับคุณค่าของหลักสูตรโดยใช้ผลจากการวัดในแง่มุมต่างๆ
ของสิ่งที่ประเมินเพื่อนำมาพิจารณาร่วมกันและสรุปว่าจะให้คุณค่าของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมานั้นว่าอย่างไรมีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใดหรือได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือไม่มีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข
สุจริต เพียรชอบ (2548 : 64)
กล่าวถึงการประเมินหลักสูตรไว้ว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญเพราะเป็นการหาคำตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลตามที่ได้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่มากน้อยเพียงใดอะไรเป็นสาเหตุผู้ประเมินหลักสูตรจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ดีทั้งทางด้านหลักสูตรและด้านการประเมินผลซึ่งจะต้องเน้นการประเมินทั้งโปรแกรมการศึกษามิใช่แต่เพียงผลการเรียนปีสุดท้ายเท่านั้นแต่ควรประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนด้วย
จากความหมายของการประเมินหลักสูตรที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าการประเมินหลักสูตรคือกระบวนการในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่าหลักสูตรนั้นๆ
มีประสิทธิภาพแค่ไหนเมื่อนำไปใช้แล้วบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่มีอะไรที่ต้องแก้ไขเพื่อนำผลที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ดีกว่าต่อไป
2. จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและมีขอบเขตที่กว้างขวางการประเมินหลักสูตรจะต้องครอบคลุมขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรเพราะฉะนั้นการประเมินหลักสูตรจึงมีขอบเขตของการประเมินที่กว้างขวางด้วยการประเมินหลักสูตรแต่ละจุดแต่ละขั้นตอนมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันไปในรายละเอียดแต่โดยทั่วไปแล้วจุดมุ่งหมายใหญ่ของการประเมินหลักสูตรจะมีความใกล้เคียงกันจะขอยกตัวอย่างจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรที่นักศึกษาได้กล่าวไว้ดังนี้
ทาบา (Taba, 1962:310) ได้กล่าวไว้ว่าการประเมินหลักสูตรกระทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการต่างๆ
ที่กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมินดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่จุดประสงค์ขอบเขตของเนื้อหาสาระคุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตรสมรรถภาพของผู้เรียนความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ
การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537 : 218-219)
กล่าวว่าการประเมินหลักสูตรโดยทั่วๆ
ไปจะมีจุดมุ่งหมายดังนี้เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรโดยตรวจสอบดูว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมานั้นสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่เพื่อวัดผลดูว่าการวางเค้าโครงและรูปแบบระบบของหลักสูตรรวมทั้งวัสดุประกอบหลักสูตรและการบริหารและบริการหลักสูตรเป็นไปในทางที่ถูกต้องแล้วหรือไม่การประเมินหลักสูตรจากผู้เรียนเองหรือการประเมินผลผลิตเพื่อตรวจสอบดูว่าลักษณะที่พึงประสงค์เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 192 – 193)
กล่าวว่าโดยทั่วไปการประเมินหลักสูตรใดๆ
ก็ตามจะมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่คล้ายคลึงกันดังนี้คือเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ
ของหลักสูตรเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตรการนิเทศกำกับดูแลการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปอีกหรือควรยกเลิกการใช้หลักสูตรเพียงบางส่วนหรือยกเลิกทั้งหมดเพื่อต้องการทราบคุณภาพของผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตของหลักสูตรว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามความมุ่งหวังของหลักสูตรหลักจากผ่านกระบวนการทางการศึกษามาแล้วหรือไม่อย่างไรจากจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรข้างต้นพอสรุปได้ว่าการประเมินผลหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายดังนี้เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรนั้นโดยดูว่าหลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่หลักสูตรนั้นต้องการหรือไม่สนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมอย่างไรเพื่ออธิบายและพิจารณาว่าลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ
ของหลักสูตรในแง่ต่างๆ
เช่นหลักการจุดมุ่งหมายเนื้อหาสาระการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อการเรียนการสอนและการวัดผลว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่หรือสนองความต้องการหรือไม่เพื่อตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้มีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้างการประเมินผลในลักษณะนี้มักจะดำเนินไปในช่วงที่การพัฒนาหลักสูตรยังคงดำเนินการอยู่เพื่อที่จะพิจารณาว่าองค์ประกอบต่างๆ
ของหลักสูตรเช่นจุดหมายโครงสร้างเนื้อหาการวัดผลฯลฯมีความสอดคล้องและเหมาะสมหรือไม่สามารถนำมาปฏิบัติในช่วงการนำหลักสูตรไปทดลองใช้หรือในขณะที่การใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนกำลังดำเนินอยู่ได้มากน้อยเพียงใดได้ผลเพียงใดและมีปัญหาอุปสรรคอะไรจะได้เป็นประโยชน์แก่นักพัฒนาหลักสูตรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ
ของหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นได้ทันท่วงทีเพื่อตัดสินว่าการบริหารงานด้านวิชาการและบริหารงานด้านหลักสูตรเป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่เพื่อหาทางแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อติดตามผลผลิตจากหลักสูตรคือผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากการผ่านกระบวนการทางการศึกษามาแล้วตามหลักสูตรว่าเป็นไปตามมุ่งหวังหรือไม่เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ
ในหลักสูตรเพื่อช่วยในการตัดสินว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปหรือควรปรับปรุงพัฒนาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือยกเลิกใช้หลักสูตรนั้นหมดการประเมินผลในลักษณะนี้จะดำเนินการหลังจากที่ใช้หลักสูตรไปแล้วระยะหนึ่งแล้วจึงประเมินเพื่อสรุปผลตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่บรรลุตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้มากน้อยเพียงใดสนองความต้องการของสังคมเพียงใดและเหมาะสมกับการนำไปใช้ต่อไปหรือไม่จากจุดมุ่งหมายของการประเมินผลหลักสูตรต่างๆข้อมูลต่างๆ
ที่ได้จากการประเมินจะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงคุณภาพการศึกษาของสังคมซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของประชากรในการพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไปดังนั้นการประเมินผลหลักสูตรซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งไม่น้อยไปกว่ากระบวนการในการจัดการศึกษาในส่วนอื่นๆ
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ควรจะต้องหาวิธีการที่ดีที่สุดในการที่ประเมินผลหลักสูตรเพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนและจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามขั้นตอนของวิธีการต่างๆ
ที่นำมาใช้
3. ระยะของการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรควรมีการดำเนินเป็นระยะๆ
ทั้งนี้เนื่องจากข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดของหลักสูตรอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยและในระยะต่างกันเช่นอาจมีสาเหตุมาจากตอนจัดทำหรือ ยกร่างหลักสูตรซึ่งทำให้ตัวหลักสูตรไม่มีคุณภาพที่ดีหรือไม่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปหรืออาจมีสาเหตุมาจากตอนนำหลักสูตรไปใช้เป็นต้นการประเมินหลักสูตรที่ดีจึงต้องตรวจสอบเป็นระยะเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น3 ระยะคือ
ระยะที่ 1 การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้
(Project Analysis)
ในช่วงระหว่างที่มีการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรอาจมีการดำเนินการตรวจสอบทุกขั้นตอนของการจัดทำนับแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายไปจนถึงการกำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนซึ่งสามารถทำได้ 2 ลักษณะคือ
1.
ประเมินหลักสูตรเมื่อสร้างหลักสูตรฉบับร่างเสร็จแล้วก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้จริงควรมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฉบับร่างและองค์ประกอบต่างๆ
ของหลักสูตรการประเมินหลักสูตรในระยะนี้ต้องอาศัยความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาหลักสูตรทางด้านวิชาชีพครูทางด้านการวัดผลหรือจะให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์หรือพิจารณาก็ได้
2.
ประเมินผลในขั้นตอนทดลองใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ขาดตกบกพร่องหรือเป็นปัญหาให้มีความสมบูรณ์เพื่อประสิทธิภาพในการนำไปใช้ต่อไปเช่นหลักสูตรประถมศึกษา
พ.ศ. 2521 มีการทดลองใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 และ 2520 เพื่อหาข้อบกพร่องอุปสรรคจะได้แก้ไขให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป
ระยะที่ 2 การประเมินหลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร
(Formative Evaluation)
ในขณะที่มีการดำเนินการใช้หลักสูตรที่จัดทำขึ้นควรมีการประเมินเพื่อตรวจสอบว่าหลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้ดีเพียงใดหรือบกพร่องในจุดไหนจะได้แก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมเช่นประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรในด้านการบริหารการจัดการหลักสูตรการนิเทศกำกับดูแลและการจัดกระบวนการเรียนการสอน
ระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตร
(Summative Evaluation)
หลังจากที่มีการใช้หลักสูตรมาแล้วระยะหนึ่งคือครบกระบวนการเรียบร้อยแล้วควรจะประเมินหลักสูตรทั้งระบบซึ่งได้แก่การประเมินองค์ประกอบด้านต่างๆ
ของหลักสูตรทั้งหมดคือเอกสารหลักสูตรวัสดุหลักสูตรบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรการบริหารหลักสูตรการนิเทศกำกับติดตามการจัดกระบวนการเรียนการสอน
ฯลฯ
เพื่อสรุปผลตัดสินว่าหลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นควรจะดำเนินการใช้ต่อไปหรือควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นหรือควรจะยกเลิกเช่นหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 มีช่วงระยะการใช้งาน 6 ปีเมื่อครบ 6 ปีแล้วจะมีการประเมินผลหลักสูตรรวบยอดทั้งหมดโดยนำข้อมูลตั้งแต่ระยะที่ 1 จนถึงระยะที่ 2 มารวบรวมวิเคราะห์และประเมินคุณค่าทั้งนี้อาจจะต้องอาศัยข้อมูลที่สำคัญอีกบางข้อมูลเช่นผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนซึ่งได้แก่การนำไปใช้ในการดำรงชีวิตการประกอบอาชีพเข้ามาประกอบการวิเคราะห์และประเมินค่าด้วย
4. ขอบเขตในการประเมินหลักสูตร
การประเมินผลหลักสูตรเป็นงานที่มีความซับซ้อนมีความกว้างขวางและมีความละเอียดอ่อนมากการประเมินผลหลักสูตรต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องนำเข้ามาเกี่ยวข้องในลักษณะที่มีความสัมพันธ์ต่อกันการประเมินผลหลักสูตรมิได้หมายความว่าจะประเมินเฉพาะตัวหลักสูตรที่เป็นเอกสารจัดทำเป็นรูปเล่มเท่านั้นแต่ต้องประเมินสถานการณ์ต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรทั้งหมดเช่นนักเรียนครูกระบวนการระบบต่างๆ โครงการต่างๆ
ฯลฯ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการประเมินผลสภาพการณ์ดังกล่าวจะเป็นตัวชี้ได้ว่าหลักสูตรที่ใช้อยู่เป็นอย่างไร
จากแนวคิดดังกล่าวนักการศึกษาได้พยายามจัดรวบรวมสภาพการณ์ขั้นตอนต่างๆ
จัดเป็นหมวดหมู่หรือกำหนดขอบข่ายให้ชัดเจนขึ้นเพื่อสะดวกในการที่จะดำเนินการประเมินผลนักการศึกษาได้เสนอขอบข่ายของการประเมินผลไว้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp. 1975: 177)
ได้กำหนดขอบข่ายการประเมินหลักสูตรไว้ว่าควรประเมิน 4 ด้านคือ
1 .ประเมินผลการใช้หลักสูตร (Evaluation of Teacher use
of the Curriculum)
2. ประเมินผลรูปแบบของหลักสูตร (Evaluation of the Design)
3. ประเมินผลการเรียนของนักเรียน (Evaluation of Pupil
Outcomes)
4. ประเมินผลระดับหลักสูตร (Evaluation of Curriculum System)
เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and
Alexander, 1981: 265)
ได้กล่าวถึงขอบเขตของการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้
1.
การประเมินจุดมุ่งหมายของโรงเรียนจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาและจุดมุ่งหมายในการสอนเพื่อจะดูว่าจุดมุ่งหมายเหล่านั้นเหมาะสมกับตัวผู้เรียนสภาพแวดล้อมหรือไม่มีความเที่ยงตรงและครอบคลุมเพียงใด
2. การประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมดเช่นการเตรียมพร้อมของโรงเรียนการดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนงบประมาณการเงินการแนะแนวห้องสมุดดูว่าการดำเนินงานโครงการต่างๆ
ได้ดำเนินการไปอย่างไรและมีประสิทธิภาพเพียงใด
3. การประเมินผลการเลือกเนื้อหาและการจัดประสบการณ์เรียนและกิจกรรมต่างๆ
ว่าเหมาะสมเพียงใด
4.
การประเมินผลการสอบเพื่อดูว่าการสอนของครูดำเนินไปโดยยึดตัวหลักสูตรหรือไม่การสอนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปตามที่ต้องการหรือไม่เพราะผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนคือผลสัมฤทธิ์ในการสอนของครู
5.
การประเมินผลโครงการประเมินผลเพื่อป้องกันการผิดพลาดซึ่งจะทำให้การประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรผิดพลาดไปด้วย
สุมิตร คุณานุกร (2520: 198 – 202)
ได้แสดงความคิดเห็นว่าการประเมินผลเพื่อตัดสินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรนั้นควรมีขอบเขตอยู่ 4 ประการคือ
1. การวิเคราะห์ตัวหลักสูตร
2. การวิเคราะห์กระบวนการนำหลักสูตรไปใช้
3. การวิเคราะห์สัมฤทธิ์ผลการเรียนของเด็ก
4. การวิเคราะห์โครงการประเมินผล
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 195 – 197)
กล่าวว่าในการประเมินหลักสูตรนั้นสิ่งที่ต้องประเมินสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. การประเมินเอกสารหลักสูตรเป็นการตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ
ของหลักสูตร
2.
การประเมินการใช้หลักสูตรเป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตรสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์จริงเพียงใด
3.
การประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรเป็นการตรวจสอบสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน
4. การประเมินระบบหลักสูตร
สันต์ ธรรมบำรุง (2527: 141-142)
ได้กำหนดขอบเขตการประเมินผลหลักสูตรไว้ดังนี้
1. ประเมินหลักสูตรความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
2. ประเมินโครงการทั้งหมดของโรงเรียน
3. ประเมินโครงการเฉพาะส่วน
4. ประเมินการเรียนการสอน
5. ประเมินโครงการ การประเมินผล
6. ประเมินโครงการความสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนถึงการสอนด้วย
7. ประเมินโครงการของผู้เรียนจบออกไปว่าหางานทำได้หรือไม่
จากขอบเขตการประเมินผลหลักสูตรที่ยกมาเป็นตัวอย่างจะเห็นได้ว่า
การประเมินหลักสูตรนั้นสามารถทำการประเมินได้ในขอบเขตที่แตกต่างกันอาจจะเป็นการประเมินในขอบเขตที่แคบ
เช่น การประเมินจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หรือการประเมินในขอบเขตที่กว้าง เช่น
การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการประเมินหรือสิ่งที่เราต้องการตรวจสอบและระยะของการประเมินดังกล่าวมาแล้ว
5. หลักเกณฑ์ในการประเมินหลักสูตร
เนื่องจากการประเมินหลักสูตรเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาก
ผู้ทำหน้าที่ประเมินผล
จำเป็นต้องยึดหลักการที่สำคัญในการประเมินผลเพื่อที่จะทำให้การประเมินผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ได้ผลจากการประเมินหลักสูตรที่มีคุณค่าเพียงพอที่จะนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรได้จริง
เป็นข้อมูลหรือหลักฐานที่เชื่อถือได้สูง
มีความเที่ยงตรงเราจะพบว่าในการประเมินหลักสูตรผลจากการประเมินผลหลายต่อหลายเรื่องมิได้ถูกนำไปใช้ก็ด้วยเหตุผลดังกล่าว
ทั้งๆ ที่การประเมินผลหลักสูตรแต่ละครั้งเป็นงานใหญ่ต้องลงทุนลงแรงสูง
เพราะฉะนั้นในการประเมินหลักสูตรเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่มีคุณค่า
เราจึงมีหลักเกณฑ์ที่จะช่วยในการประเมินดังนี้
1. มีจุดประสงค์ในการประเมินที่แน่นอน
การประเมินผลหลักสูตรจะต้องกำหนดลงไปให้แน่นอนชัดเจนว่าประเมินอะไร
2. มีการวัดที่เชื่อถือได้ โดยมีเครื่องมือและเกณฑ์การวัดซึ่งเป็นที่ยอมรับ
3. ข้อมูลเป็นจริงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผล ดังนั้น
ข้อมูลจะต้องได้มาอย่างถูกต้องเชื่อถือได้และมากพอที่จะใช้เป็นตัวประเมินค่าหลักสูตรได้
4. มีขอบเขตที่แน่นอนชัดเจนว่าเราต้องการประเมินในเรื่องใดแค่ไหน
5. ประเด็นของเรื่องที่จะประเมินอยู่ในช่วงเวลาของความสนใจ
6. การรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์
และกำหนดเครื่องมือในการประเมินผลจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
7. การวิเคราะห์ผลการปะเมินต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบ
และให้มีความเที่ยงตรงใน การพิจารณา
8. การประเมินผลหลักสูตรควรใช้วิธีการหลายๆ วิธี
9. มีเอกภาพในการตัดสินผลการประเมิน
10. ผลต่างๆ
ที่ได้จากการประเมินควรนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรทั้งในด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป
เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดี และมีคุณค่าสูงสุดตามที่ต้องการ
6. ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการพิจารณาคุณค่าหรือนิยม
(Worth
or Value) ของหลักสูตร ขั้นตอนหรือวิธีการประเมินจึงมีความสำคัญมาก
ซึ่งนักศึกษาหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนในการประเมินหลักสูตรดังนี้
ทาบา (Taba, 1962: 324) ให้แนวทางในการประเมินผลหลักสูตรเป็นกระบวนการมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. วิเคราะห์และตีความตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรให้มองเห็นกระจ่างชัดในเชิงพฤติกรรมคือปฏิบัติได้จริง
(Formulation and Clarification for Objective)
2. คัดเลือกและสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับค้นหาหลักสูตร (Selection
and Construction of the Appropriate Instruments for Getting
Evidences)
3. ใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นประเมินผลหลักสูตรตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (Application
of Evaluative Criteria)
4.
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังจากนักเรียนและลักษณะของการสอนเพื่อนำมาประกอบในการแปรผลของการประเมิน
(Information on the Background of Students and the Nature of Instruction
in the Light Which to Interpret the Evidences)
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539: 198-202) กล่าวว่า
ในการประเมินหลักสูตรนั้นผู้ประเมินผลควรดำเนินตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบดังนี้ คือ
1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินหลักสูตร
ผู้ประเมินหลักสูตรต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนก่อนว่า
จะประเมินส่วนใดหรืออย่างใดและในแต่ละเรื่องจะศึกษาบางส่วนในเรื่องนั้นๆ ก็ได้
2. ขั้นวางแผนออกแบบการประเมิน คือ
2.1 การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
2.2 การกำหนดแหล่งข้อมูล
2.3 การพัฒนาเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.4 การกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน
2.5 การกำหนดเวลา
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
5. ขั้นรายงานผลการประเมิน
จากขั้นตอนในการประเมินหลักสูตรที่กล่าวมาทั้งหมด
สามารถสรุปขั้นตอนการประเมินหลักสูตรได้ดังนี้
1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมิน
การกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร
ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร
ในส่วนใดด้วยวัตถุประสงค์อย่างไร เช่น
ต้องการประเมินเอกสารหลักสูตรเพื่อดูว่าเอกสารหลักสูตรถูกต้องสมบูรณ์สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน
หรือจะประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ในเรื่องอะไรแค่ไหน หรือการนำหลักสูตรไปใช้ทั้งหมด
หรือจะประเมินหลักสูตรทั้งระบบการกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินที่ชัดเจนทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ
เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้อง
และทำให้การประเมินหลักสูตรดำเนินไป
2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล
การกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการประเมินเกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน
การกำหนดวิธีการที่จะใช้การประเมินผลทำให้เราสามารถดำเนินงานไปตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น
3. ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ
ซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพมีความเชื่อถือได้
และมีความเที่ยงตรงสูง
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
ในขั้นการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้
ในบางครั้งถ้าจำเป็นต้องอาศัยผู้อื่นในการรวบรวมข้อมูล
ควรพิจารณาผู้ที่จะมาทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเหมาะสม
เพราะผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล
พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน
ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะสรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น
ผู้ประเมินจะต้องพิจารณารูปแบบของการรายงานผลว่าควรจะเป็นรูปแบบใด
และการรายงานผลจะมุ่งเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรมีคุณภาพหรือไม่
เพียงใด มีส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิก
7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป
7. ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
การประเมินผลหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราทราบถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร
การประเมินผลมีประโยชน์ในการจัดการศึกษาการจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรต้องอาศัยผลการประเมินผลเป็นสำคัญ
ประโยชน์ของการประเมินผลหลักสูตรมีดังนี้
1. ทำให้ทราบหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด
ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
2. สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ
และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
3. ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ
หรือบริการทางด้านใดบ้าง
4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
5. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
6. ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อหาทางส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ เพราะมีเครื่องมือ
และหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
8. ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร
9. ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้
ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตรทำให้ทราบเป้าหมายแนวทาง
และขอบเขตในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน
8. ปัญหาในการประเมินหลักสูตร
ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่า
การประเมินหลักสูตรเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง
มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานหลายขั้นตอน และต้องเกี่ยวกับบุคคลหลายฝ่าย ดังนั้น
ในการประเมินหลักสูตรจึงมักพบกับปัญหาในแต่ละขั้นตอนหรือแต่ละกระบวนการที่แตกต่างกันไปปัญหาที่มักพบทั่วไปในการประเมินหลักสูตรมีดังนี้
1. ปัญหาด้านการวางแผนการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรมักไม่มีการวางแผนล่วงหน้า
ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบในการประเมินผล และไม่ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการประเมิน
2. ปัญหาด้านเวลา การกำหนดเวลาไม่เหมาะสมการประเมินหลักสูตรไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด
ทำให้ได้ข้อมูลเนิ่นช้าไม่ทันต่อการนำมาปรับปรุงหลักสูตร
3. ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการประเมินหลักสูตร
คณะกรรมการประเมินหลักสูตรไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรที่จะประเมิน
หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินผล ทำให้ผลการประเมินที่ได้ไม่น่าเชื่อถือ
ขาดความระเอียดรอบคอบ ซึ่งมีผลทำให้การแก้ไขปรับปรุงปัญหาของหลักสูตรไม่ตรงประเด็น
4. ปัญหาด้านความเที่ยงตรงของข้อมูล
ข้อมูลที่ไม่ใช้ในการประเมินไม่เที่ยงตรงเนื่องจากผู้ประเมินมีความกลัวเกี่ยวกับผลการประเมิน
จึงทำให้ไม่ได้เสนอข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงหรือผู้ถูกประเมินกลัวว่าผลการประเมินออกมาไม่ดี
จึงให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง
5. ปัญหาด้านวิธีการประเมิน การประเมินหลักสูตรส่วนมากมาจากประเมินในเชิงปริมาณ ทำให้ได้ข้อค้นพบที่ผิวเผินไม่ลึกซึ้ง
จึงควรมีการประเมินผลที่ใช้วิธีการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กัน
เพื่อให้ได้ผลสมบูรณ์และมองเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ การประเมินหลักสูตรทั้งระบบมีการดำเนินงานน้อยมาก
ส่วนมากมักจะประเมินผลเฉพาะด้าน เช่น ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านวิชาการ (Academic
Achievement) เป็นหลัก ทำให้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
7. ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการประเมินหลักสูตรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมักไม่ประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
8. ปัญหาด้านเกณฑ์การประเมิน เกณฑ์การประเมินหลักสูตรไม่ชัดเจน
ทำให้ผลการประเมินไม่เป็นที่ยอมรับ
และไม่ได้นำผลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรอย่างจริงจัง
9. รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ในเรื่องรูปแบบของการประเมินหลักสูตร
มีนักวิชาการซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรและการประเมินผลเสนอแนะหลายรูปแบบด้วยกันซึ่งสามารถนำมาศึกษาเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการ
ในปัจจุบันรูปแบบของการประเมินหลักสูตรสามรถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. รูปแบบของการประเมินหลักสูตรที่สร้างเสร็จใหม่ๆ
เป็นการประเมินผลก่อนนำหลักสูตรไปใช้ กลุ่มนี้จะเสนอรูปแบบที่เด่นๆ คือ
รูปแบบการประเมินหลักสูตรด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบปุยแชงค์ (Puissance
Analysis Technique)
2. รูปแบบของการประเมินหลักสูตรในระหว่างหรือหลังการใช้หลักสูตรสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ
ได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
2.1 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดจุดมุ่งหมายเป็นหลัก
(Goal Attainment Model)
เป็นรูปแบบการประเมินที่จะประเมินว่าหลักสูตรมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากจุดมุ่งหมายเป็นหลัก
กล่าวคือพิจารณาว่าผลที่ได้รับเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ เช่น
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) และรูปแบบการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ (Rabert L. Hammond)
2.2 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ไม่ยึดเป้าหมาย
(Goal Free Evaluation Model)
เป็นรูปแบบการประเมินที่ไม่นำความคิดของผู้ประเมินเป็นตัวกำหนดความคิดในโครงการประเมินผู้ประเมินจะประเมินเหตุการณ์ที่เกิดตามสภาพความเป็นจริง
มีความเป็นอิสระในการประเมินและไม่ต้องมีความลำเอียง เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสคริฟเวน
(Michael Scriven)
2.3 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก
(Criterion Model)
เป็นรูปแบบการประเมินที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินคุณค่าของหลักสูตรโดยใช้เกณฑ์เป็นหลัก
เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค (Robert E.Stake)
2.4 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ช่วยในการตัดสินใจ
(Decision-Mzking Model)
เป็นรูปแบบการประเมินที่เน้นการทำงานอย่างมีระบบเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล และการเสนอผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ
เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
รูปแบบการประเมินของโพรวัส(Malcolm Provus)
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม(Daniel L. Stufflebeam) และรูปแบบการประเมินหลักสูตรของดอริสโกว์ (Doris T. Gow) เป็นต้น
การประเมินหลักสูตรมีขอบเขตต่างๆ ที่จะต้องทำการประเมินกว้างขวางมาก
ดังนั้นวิธีการประเมินหลักสูตรจึงต้องได้รับการวิเคราะห์และออกแบบให้สามารถที่จะประเมินได้ครบถ้วนในขอบข่ายสาระทั้งหมด
รูปแบบต่างๆ ที่จะใช้ประเมินผลมีหลายรูปแบบ
ผู้มีหน้าที่ในการประเมินผลจำเป็นต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจให้กระจ่างชัด
และจะต้องนำรูปแบบต่างๆ
ไปใช้อย่างถูกต้องตรงตามจุดหมายและลักษณะของขอบข่ายสาระแต่ละอย่าง
ทั้งนี้เป็นไปได้ว่าการประเมินผลขอบข่ายสาระทั้งหมดของหลักสูตรจำเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีหรือหลายๆ
รูปแบบจึงจะได้ข้อมูลที่มีความเชื่อมั่นในการที่จะนำไปพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณค่าเหมาะสมกับความต้องการของสังคม
รูปแบบการประเมินมีดังนี้
9.1 รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค (The
Stake’s Congruence Contingency Model)
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตคเป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลักสูตร
สเตคได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่า
เป็นการบรรยายและการตัดสินคุณค่าของหลักสูตร
ซึ่งเน้นเรื่องการบรรยายสิ่งที่จะถูกประเมิน
โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินคุณค่า
สเตคมีจุดมุ่งหมายที่จะประเมินผลหลักสูตรโดยการประเมิน ดังนั้น
สเตคจึงเสนอว่าควรมีการพิจารณาข้อมูลเพื่อประเมินผลหลักสูตร 3 ด้าน คือ
1. ด้านสิ่งที่มาก่อน หรือสภาพก่อนเริ่มโครงการ (Antecedent) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดผลจากหลักสูตรและเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนการใช้หลักสูตรอยู่แล้วประกอบด้วย 7 หัวข้อ คือ บุคลิกและนิสัยของนักเรียน บุคลิกและนิสัยครู
2. ด้านเนื้อหาในหลักสูตร วัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอน อาคารสถานที่
การจัดโรงเรียน ลักษณะของชุมชนขณะที่มีการเรียนการสอนระหว่างนักเรียนกับนักเรียน
นักเรียนกับครู ครูกับผู้ปกครอง ฯลฯ เป็นขั้นของการใช้หลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย 5 หัวข้อ คือ การสื่อสาร การจัดแบ่งเวลา การลำดับเหตุการณ์ การให้กำลังใจ
และบรรยากาศของสิ่งแวดล้อม
3. ด้านผลผลิต หรือผลที่ได้รับจากโครงการ (Outcomes) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย 5หัวข้อ คือ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ทัศนคติของนักเรียน ทักษะของนักเรียน
ผลที่เกิดขึ้นกับครู
และผลที่เกิดขึ้นกับสถาบันซึ่งรูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตคแสดงให้เห็นเป็นตาราง 3 ดังนี้
ตาราง 3 วิเคราะห์หลักสูตรของสเตค
เกณฑ์ในการวิเคราะห์หลักสูตร
|
ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์หลักสูตร
|
|||
ข้อมูลเชิงบรรยาย
|
ข้อมูลเชิงตัดสิน
|
|||
ผลที่คาดหวัง
|
ผลที่เกิดขึ้น
|
มาตรฐานที่ใช้
|
การตัดสินใจ
|
|
1. สภาพก่อนเริ่มโครงการ
-
บุคลิกและนิสัยของนักเรียน
-
บุคลิกและนิสัยของครู
-
เนื้อหาในหลักสูตร
-
อุปกรณ์การเรียนการสอน
-
บริเวณโรงเรียน
-
ชุมชน
2. กระบวนการในการเรียน
-
การสื่อสาร
-
เวลาที่จัดให้
-
ลำดับของเหตุการณ์
-
การให้กำลังใจ
-
สภาพสังคมหรือบรรยากาศ
3. ผลที่ได้รับจากโครงการ
-
ความสำเร็จของนักเรียน
-
ทัศนคติของนักเรียน
-
ทักษะของนักเรียน
-
ผลที่ครูได้รับ
- ผลที่สถาบันได้รับ
|
จากแบบตัวอย่างของสเตคนี้จะเห็นว่าขั้นตอนในการประเมินผลหลักสูตรจะเป็นดังนี้ คือ
1. การตั้งเกณฑ์ในการวิเคราะห์หลักสูตร
สเตคได้เสนอหัวข้อของเกณฑ์ที่จะใช้ในการวิเคราะห์หลักสูตรได้ 3 หัวข้อ คือ เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่มีมาก่อนกระบวนการในการสอน
และผลที่เกิดขึ้น เขาให้ความคิดเห็นว่าการประเมินจากผลที่ได้รับนั้นยังไม่พอที่จะประเมินว่าหลักสูตรนั้นดีหรือไม่เพียงใดเพราะผลที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอีกหลายอย่างเป็นต้นว่า
หากผู้เรียนไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ก็มิได้หมายความว่าหลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่ไม่ดี
การที่ผู้เรียนไม่สามารถเรียนได้ตามที่ต้องการ อาจมาจากองค์ประกอบทางด้านเวลา เช่น
ให้เวลาแก่ผู้เรียนน้อยไปเวลาที่จัดให้ไม่เหมาะสม
ดังนั้น การที่จะช่วยดูแต่ผลที่ได้รับและนำมาประเมินค่าหลักสูตรนั้นเป็นการไม่เพียงพอและอาจจะไม่สามารถช่วยชี้ช่องทางการปรับปรุงหลักสูตรนั้นแต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้ สเตคจึงได้เสนอว่าควรมีการพิจารณาข้อมูลเพื่อประเมินผลหลักสูตรถึง 3 ด้านดังที่กล่าวมาแล้ว
2. การหาข้อมูลมาประกอบ
หลังจากที่ได้ตั้งเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการประเมินผลหลักสูตรแล้วผู้ประเมินผลหลักสูตรจะต้องทำการเก็บรวบรวม ข้อมูลเพื่อนำมาพิจารณาตามแบบตัวอย่างของสเตคแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่เป็นการบรรยายหรือเรียกว่า “ข้อมูลเชิงบรรยาย”
(Descriptive Data) ประกอบด้วยข้อมูล 2 ชนิด คือ
1.1 ข้อมูลที่อธิบายสิ่งที่คาดหวังของหลักสูตรเกี่ยวกับสิ่งที่มาก่อนกระบวนการเรียน
การสอน และผลผลิตของหลักสูตร
1.2 ข้อมูลที่อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริงซึ่งสังเกตได้หรือทดสอบได้เกี่ยวกับสิ่งที่มีก่อนกระบวนการเรียนการสอน
ผลผลิตของหลักสูตร
ผู้ประเมินจะต้องอธิบายความสัมพันธ์ (Contingency) ระหว่างสิ่งที่มาก่อน (Antecedents) กระบวนการเรียนการสอน (Transactions)
และผลผลิต (Outcomes) ของหลักสูตรและการศึกษาความสอดคล้อง (Congruence) ระหว่างสิ่งที่คาดหวังและสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่อย่างไรจากการพิจารณาข้อมูลในลักษณะแนวตั้งและแนวนอนนี้
สรุปเป็นแผนภูมิเกี่ยวกับการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์และความสอดคล้องของหลักสูตร
2. ส่วนที่เป็นการพิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตร หรือที่เรียกว่า “ข้อมูลเชิงตัดสิน” (Judgemental Data)
ประกอบด้วยข้อมูล 2 ชนิด
คือ
2.1 ข้อมูลที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน (Standards) ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เช่นครู ผู้บริหาร นักเรียน
ผู้ปกครอง ฯลฯ เชื่อว่าควรจะใช้
2.2 ข้อมูลที่เป็นการตัดสินของบุคคลต่างๆ
ซึ่งเป็นความรู้สึกนึกคิดตัดสินคุณภาพและความเหมาะสมของบุคคลต่างๆ
ผู้ประเมินจะต้องตัดสินคูณค่าของหลักสูตรโดยใช้ข้อมูลที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานและข้อมูลที่เป็นการตัดสินของบุคคลต่างๆ
มาประกอบการพิจารณาตัดสินว่าหลักสูตรมีส่วนใดดีหรือส่วนใดไม่ดี
3. วิธีการใช้ตารางในการประเมินผลของหลักสูตร
เริ่มต้นด้วยการพิจารณาข้อมูลทั้ง 4 หมวด ตามเกณฑ์ที่ตั้งขึ้น เช่น จากตารางแบบตัวอย่างของ สเตค จะเริ่มที่ข้อ
ก. ด้านสิ่งที่มีมาก่อนข้อ ก.1 บุคลิกและนิสัยของนักเรียน
เราก็จะพิจารณาว่าผลที่คาดหวังหรือวัตถุประสงค์ในด้านนี้คืออะไร
และนำมาเปรียบเทียบกับผลที่เกิดขึ้นว่าตรงหรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
และผลที่เกิดขึ้นนั้นใช้มาตรฐานอะไรวัดและถืออะไรเป็นหลักในการตัดสินยกตัวอย่าง
เช่น ในเรื่องของบุคลิกและนิสัยของนักเรียน
ผลที่คาดหวัง :
ต้องการนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นผู้นำกล้าซักถามโต้ตอบและโต้แย้ง
ผลที่เกิดขึ้น : ได้นักเรียนที่มีลักษณะความเป็นผู้นำประมาณ 20% และได้นักเรียนที่มีลักษณะความเป็นผู้นำตาม 80%
มาตรฐานที่ใช้ : ควรและนักบริหารการศึกษาเห็นว่านักเรียน 100%
ควรมีทั้งลักษณะความเป็นผู้นำและผู้ตามอยู่ในตัว
ที่มาของหลักสูตรการตัดสิน : สังคมประชาธิปไตย
จากการเปรียบเทียบเกณฑ์ข้อมูลในหมวดต่างๆ ในลักษณะข้างต้น ผู้ประเมินจะสามารถเห็นว่าหลักสูตรนั้นมีความสอดคล้องกันหรือไม่ในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ
นอกจากนั้นการพิจารณาข้อมูลตามแนวตั้ง
ผู้ประเมินนั้นจะพบว่าหลักสูตรนั้นมีความสัมพันธ์ในตัวกันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ในเรื่องบุคลิกและนิสัยของนักเรียน
ในลักษณะเช่นนี้ การเปรียบเทียบข้อมูลตามแนวตั้งของหลักลูกศร
ผู้ประเมินหลักสูตรจะสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าการจัดการทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสิ่งที่มีมาก่อน กระบวนการในการสอน
และผลที่เกิดขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กันถูกต้องหรือไม่
การวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องกับความสัมพันธ์กันของหลักสูตรนี้จะเป็นแนวทางชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องต่างๆ
ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงหลักสูตรเป็นอันมาก
9.2 รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม
(Stufflebeam)
ประเมินผลทางการศึกษาเอาไว้ว่าเป็นกระบวนการการบรรยายการหาข้อมูล
และการให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจหาทางเลือก
ฉะนั้นรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดขอลสตัฟเฟิลบีมจึงเป็นรูปแบบเหมาะสมแก่การช่วยตัดสินใจเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด
ตามปกติสถานการณ์ในการตัดสินใจ
(Decision Settingt) โดยทั่วไปจะประกอบด้วยมิติที่สำคัญ 2
ประการ คือ
1. มิติด้านข้อมูลที่มีอยู่ (Information Grasp) คือถ้าเราจะตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เราจำเป็นต้องคำนึงว่าเรามีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นอยู่มากน้อยเพียงใด
2. มิติด้านปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Degree
of Cange) คือความหมายว่าถ้าเราจะตัดสินใจทำอะไรสักอย่างหนึ่ง
เราต้องคำนึงว่าเมื่อทำไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากน้อยสักแค่ไหน
จากรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมแสดงให้เห็นว่า
1. สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
แต่ทว่าข้อมูลที่จะช่วยให้การตัดสินใจนั้นมีอยู่มากสถานการณ์การตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Homeostatic
2.
สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจก็มีอยู่น้อย
สถานการณ์การตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Incremental
3. สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
แต่ว่าข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจมีอยู่น้อย
สถานการณ์การตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Neomobilistic
4. สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
และข้อมูลที่ช่วยใน
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การตัดสินใจนั้นไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบใดก็ตามก็จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประมาณ
(Evaluation Data) มาช่วยเป็นพื้นฐาน เพราะการตัดสินใจใดๆ
ของผู้บริหารที่ไม่ใช่ข้อมูลเชิงประมาณมาเป็นพื้นฐานในการหาทางเลือกย่อมเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการดำเนินงานตามทางเลือกนั้นอย่างมาก
ส่วนการตัดสินใจทางการตัดสินใจนั้น
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจะจัดเนื้อหาวิชาในหลักสูตรอย่างไรจะจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีไหน
จะใช้สื่อการเรียนการสอนอะไร จะจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรอะไร ถ้าพิจารณาในแง่ของวิธีการกับผลที่เกิดขึ้นและสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง
เราอาจจำแนกการตัดสินใจออกได้เป็น 4 ประเภท
1. Planning Decisions เป็นการตัดสินใจโดยคาดหวังว่าเราต้องการให้เกิดผลทางการศึกษาอย่างไร
เช่นหลังจากที่นักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ไปแล้วนักเรียนควรจะมีคุณสมบัติที่เด่นๆ อย่างไรบ้าง
ฉะนั้นการตัดสินใจชนิดนี้จึงนำมาเป็นประโยชน์ในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือในการวางแผนจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี
จึงเรียกการตัดสินใจอย่างนี้ว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผน
2. Structuring Decisions เป็นการตัดสินใจโดยคาดหวังว่าถ้าต้องการให้เกิดผลทางการศึกษาตามที่คาดหวังไว้ในข้อ1 นั้นเราควรจะวางโครงสร้างหรือวางรูปแบบของการใช้หลักสูตรที่พึ่งประสงค์เอาไว้อย่างไรเช่น
ถ้าจะให้นักเรียนมีคุณสมบัติตรงตามที่คาดหวังเอาไว้นั้น โรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมอย่างไรการบริหารงานควรเป็นแบบใด
ครูควรจัดการเรียนการสอนอย่างไร ควรให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรอะไรบ้าง ฯลฯ
จึงเรียกการตัดสินใจแบบนี้ว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้าง
3. Implemening Decisions เป็นการตัดสินใจว่า
ตามความเป็นจริงนั้นได้มีการนำหลักสูตรไปใช้ตามแนวทางที่คาดหวังเอาไว้หรือไม่
มีการควบคุมหรือแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้วิธีการที่เกิดขึ้นจริงๆ
เป็นไปตามที่ต้องการมากน้อยเพียงใด จึงเรียกการตัดสินใจแบบนี้ว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการนำไปใช้
4. Recycling Decisions เป็นการตัดสินใจหลังจากศึกษาตามหลักสูตรไปแล้วนั้นจริงๆ
แล้วนักเรียนมีคุณสมบัติอย่างไร มีความรู้ มีทักษะ มีเจตคติ
เป็นอย่างไรและเป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้หรือไม่ มีอะไรบ้างที่ต้องรักษาไว้
มีอะไรบ้างที่ต้องละทิ้งหรือต้องปรับขยายเสียใหม่ จึงเรียกการตัดสินใจแบบนี้ว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับคุณสมบัติที่พึ่งประสงค์
ทั้งหมดที่กล่าวมา 4 ข้อนี้
คือประเภทการตัดสินใจทางการศึกษา แต่ตามความคิดของสตัฟเฟิลบีมนั้น การตัดสินใจทุกๆ
เรื่องจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประเมินในการพิจารณาขั้นพื้นฐาน และสตัฟเฟิลบีมได้ให้แนวคิดไว้ว่า การประเมินผลหลักสูตรนั้นมีสิ่งสำคัญที่เราต้องประเมินอยู่ 4 ด้าน คือ
1. การประเมินสภาพแวดล้อม
(Context Evaluation) เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้หลักการและเหตุผลมากำหนดจุดมุ่งหมาย
การประเมินสภาพแวดล้อมจะช่วยให้ผู้พัฒนาหลักสูตรรู้ว่า
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง
สภาพการณ์ที่คาดหวังและสภาพที่แท้จริงในสภาพแวดล้อมดังกล่าวเป็นอย่างไร
มีความต้องการ หรือปัญหาอะไรบ้างที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองหรือแก้ไข
มีโอกาสและสรรพกำลังที่จำเป็นอะไรบ้างที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการจัดการศึกษา
และสืบเนื่อง มาจากปัญหาอะไรบ้าง ฯลฯ
ในการประเมินสภาพแวดล้อมนี้ ผู้ประเมินอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
1.1 การวิเคราะห์ความคิดรวบยอด (Conceptual
Analysis)
1.2 การทำวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์จริงๆ
(Empirical Studies)
1.3 การอาศัยทฤษฎีและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
การประเมินสภาพแวดล้อมนี้จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจด้านการวางแผนหรือกำหนดจุดมุ่งหมาย
(Planning Decision)
2. ประเมินตัวป้อน (Inputs Evaluation) เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลมาช่วยตัดสินใจว่า
จะใช้ทรัพยากรหรือสรรพกำลังต่างๆ
ที่มีอยู่เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างไร
จะขอความช่วยเหลือด้านทรัพยากรและสรรพกำลังจากแหล่งภายนอกดีหรือไม่
จะใช้วิธีจัดการเรียนการสอนแบบใดดีจึงจะประเมินด้วยตัวป้อนอาจจะทำได้โดย
2.1 จัดทำในรูปแบบของคณะกรรมการ
2.2 อาศัยผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ทำเอาไว้แล้ว
2.3 ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้การปรึกษา
2.4 ทำการวิจัยเชิงทดลองเป็นการนำร่อง
อนึ่ง ขอให้สังเกตว่าวิธีการประเมินนี้มีความแตกต่างกันออกไปมาก
นับแต่ใช้วิธีง่ายๆ โดยอาศัยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
หรือของคณะกรรมการ ไปจนถึงวิธีการที่ซับซ้อน
เช่น การวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีอยู่มากหรือน้อยนั้นเอง
ตัวอย่างเช่น ในการตัดสินใจแบบ Homeostatic ที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
แต่ทว่าข้อมูลที่จะมาช่วยในการสนับสนุนนั้นมีอยู่มากแล้วในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องประเมินผลในลักษณะที่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ประการใด
อย่างไรก็ตามถ้าสถานการณ์การตัดสินใจแบบ Incremental หรือ Neomobilistic ที่ต้องการนำนวัตกรรมบางอย่างมาใช้ในหลักสูตรประเมินผลเพื่อให้ได้ข้อมูลสนับสนุนจำเป็นต้องใช้วิธีการที่รอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ผลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้นั่นเอง
ฉะนั้นการประเมินตัวป้อนนี้จะช่วยให้เราได้ข้อมูลในการตัดสินใจ
ถ้าเราจะจัดการศึกษาตามหลักสูตร เราควรจะขอความร่วมมือและช่วยเหลือจากแหล่งภายนอกหรือไม่ควรจะหาวิธีใด
วิธีการหนึ่งที่มีอยู่แล้วหรือวิธีการที่คิดค้นขึ้นมาใหม่
การดำเนินงานในโรงเรียน เช่น การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างครู
และนักเรียน ฯลฯ
ควรเป็นอย่างไรจึงจะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จ การประเมินตัวป้อนนี้จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจด้านโครงสร้างหรือการวางรูปแบบในการดำเนินงาน
(Structuring Decision)
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบค้นจุดอ่อนของรูปแบบการดำเนินตามที่คาดหวังเอาไว้
หรือจุดอ่อนของการดำเนินงานในขั้นทดลองการใช้หลักสูตร
เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกวิธีการต่อไป ฉะนั้นต้องมีการจดบันทึกผลการประเมินกระบวนการนั้นจำเป็นต้องอาศัยวิธีการหลายๆ
อย่างต่างๆ กัน เช่น
3.1 การสังเกตแบบมีส่วนรวมปฏิบัติ
3.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
3.3 การสัมภาษณ์
3.4 การใช้แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า
3.5 การเขียนรายงานประเภทปลายเปิด
อย่างไรก็ตาม ในการประเมินกระบวนการนี้
บางครั้งจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการในการประเมินผลขึ้นมาโดยเฉพาะ
และให้คณะกรรมการชุดนี้มีเวลาการทำประเมินอย่างเต็มที่
เช่น ถ้าเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาก็อาจจะได้แก่ทีมงานในหน่วยวิจัยของสถาบันนั้นเอง
แต่ถ้าเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาก็อาจจะได้แก่ศึกษานิเทศก์ของจังหวัดเพราะการตั้งครูในโรงเรียนทำหน้าที่ประเมินผลโดยเฉพาะทำได้ยากเนื่องจากมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง
เช่น เรื่องเวลาซึ่งมีความจำเป็นมากในกรณีที่สถานการณ์การตัดสินใจเป็นแบบ Incremental และ Neomobilistic เพราะมีข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจอยู่แล้วน้อยมาก
แต่ถ้าหากสถานการณ์การตัดสินใจแบบ Homeobilistic ซึ่งต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
ขณะเดียวกันก็มีข้อมูลที่จะนำมาใช้สนับสนุนอย่างมากแล้ว
ผู้บริหารและครูในโรงเรียนอาจช่วยกันทำการประเมินก็ได้
การประเมินกระบวนการนี้ให้ข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจด้านการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติจริงๆ
(Implementing
Decisions)
4. การประเมินผลผลิต (Products
Evaluation) มีจุดมุ่งหมายจะตรวจสอบว่า
ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนนั้นเป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้มากเพียงใด
อาจทำได้โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่มีอยู่ก็ได้
ในกระบวนการการศึกษานั้นการประเมินผลผลิตจะให้ข้อมูลที่จะนำมาช่วยตัดสินใจว่ามีกิจกรรมทางการศึกษาอะไรบ้างที่ควรทำต่อไป
เลิกทำ หรือควรนำมาปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลที่จะนำไปเชื่อมต่อหรือสานต่อเข้ากับขั้นตอนอื่นๆ
ของกระบวนการทางการศึกษาได้อีกด้วย เช่น โรงเรียนหนึ่งมีปัญหาครูไม่พอสอนหรือครูมีภารกิจมากจนไม่มีเวลาจะเตรียมการสอนให้ได้ผล
จึงได้คิดค้นนวัตกรรมทางการสอนแบบ RIT (Reduced Insructional Time)
ขึ้นมาใช้ เสร็จแล้วการทำประเมินผลผลิตของการเรียนแบบ RIT ดู พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนั้นอยู่ในขั้นที่จะนำไปเผยแพร่ในโรงเรียนอื่นๆ
ที่ประสบปัญหาอย่างเดี่ยวกันได้ เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายไม่สิ้นเปลืองมากนัก
อย่างนี้ผู้บริหารการศึกษาก็อาจใช้ผลจากการประเมินดังกล่าวมาช่วยตัดสินใจประกาศให้โรงเรียนต่างๆ
นำนวัตกรรม RIT ไปใช้จัดการเรียนการสอนต่อไป
การประเมินผลผลิตนี้จะให้ข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจว่า
จะเก็บรักษาไว้ เลิกใช้หรือปรับปรุงแก้ไขใหม่
(Recycling Decisions) เนื่องจากสตัฟเฟิลบีมให้แนวคิดว่าในการประเมินผลหลักสูตรนั้นมีสิ่งที่จะต้องประเมินอยู่ 4 อย่าง คือ Context,
Input, Process และ Products รูปแบบการประเมินผลของเขาจึงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็น CIPP
Model
9.3 รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler)
ไทเลอร์( Ttler, 1949 : 248) เป็นผู้ที่วางรากฐานการประเมินหลักสูตร
โดยเสนอแนะแนวคิดว่าการประเมินหลักสูตรเป็นการเปรียบเทียบว่าพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้หรือไม่
โดยการศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบของคณะ กระบวนการจัดการศึกษา 3 ส่วน คือ จุดมุ่งหมายทางการศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
และการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
ไทเลอร์มีความเชื่อว่า จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างชัดเจนรัดกุมและจำเพาะเจาะจงจะเป็นแนวทางในการประเมินผลในภายหลัง
บทบาทของการประเมินหลักสูตรจึงอยู่ที่การดูผลผลิตของหลักสูตรว่าตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่
แนวคิดของไทเลอร์เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรจึงยึดความสำเร็จของจุดมุ่งหมายเป็นหลัก
(Goal Attainment Model)
ไทเลอร์มีความเห็นว่าจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร คือ
1.
เพื่อตัดสินว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ตั้งไว้ในรูปของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั้นประสบผลสำเร็จหรือไม่
ส่วนใดที่ประสบผลสำเร็จก็อาจเก็บไว้ใช้ได้ต่อไป แต่ส่วนใดที่ไม่ประสบผลสำเร็จควรจะปรับปรุงแก้ไข
2.
เพื่อการประเมินค่าความก้าวหน้าทางการศึกษาของกลุ่มประชากรขนาดใหญ่เพื่อให้สาธารณชนได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเข้าใจปัญหาความต้องการของการศึกษา
และเพื่อใช้ข้อมูลนั้นเป็นแนวทางในการปรับปรุงนโยบายทางการศึกษาที่คนส่วนใหญ่เห็นด้วย
ด้วยเหตุนี้การประเมินหลักสูตรจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนและการประเมินคุณค่าของหลักสูตร ไทเลอร์ได้จัดลำดับการเรียนการสอนและการประเมินผลดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายอย่างกว้างๆ โดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ
ในการกำหนดจุดมุ่งหมาย (Goal Sources) คือ นักเรียน สังคม
และเนื้อหาสาระส่วนปัจจัยที่กำหนดขอบเขตของจุดมุ่งหมาย (Goal Screens)
2. กำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมอย่างชัดเจน
ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมที่ต้องการวัดหลังจากจัดประสบการณ์การเรียน
3.
กำหนดเนื้อหาหรือประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
4.
เลือกวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมที่จะทำให้เนื้อหาหรือประสบการณ์ที่วางไว้ประสบความสำเร็จ
5. ประเมินผลโดยการตัดสินใจด้วยการวัดผลทางการศึกษา
หรือการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
6. หากหลักสูตรไม่บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
ก็จะต้องมีการตัดสินใจที่จะยกเลิกหรือปรับปรุงหลักสูตรนั้น
แต่ถ้าบรรลุตามจุดมุ่งหมายก็อาจจะใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อปรับปรุงการกำหนดจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง
หรือใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์ จะเห็นว่าเป็นการยึดความสำเร็จของผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
โดยอาศัยการวัดพฤติกรรมก่อนและหลังเรียน (Pre-Post
Measurement) และมีการกำหนดเกณฑ์ไว้ก่อนล่วงหน้าว่าความสำเร็จระดับใดจึงจะประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
การประเมินผลในลักษณะนี้จึงเป็นการประเมินผลสรุป (Summative
Evaluation) มากกว่าการประเมินผลความก้าวหน้า (Formative
Evaluation)
9.4 รูปแบบการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ (Hammond)
โรเบอร์ต แฮมมอนด์ (Robert
Hammond) มีแนวคิดในการประเมินการหลักสูตรโดยยึดจุดประสงค์เป็นหลักคล้ายไทเลอร์
แต่แฮมมอนด์ได้เสนอแนวคิดที่ต่างจากไทเลอร์ โดยที่แฮมมอนด์เสนอว่า โครงสร้างสำหรับการประเมินนั้นประกอบด้วยมิติ (Dimensions) ใหญ่ๆ หลายมิติด้วย แต่ละมิติก็จะประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ อีกหลายตัวแปร
ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรขึ้นอยู่กับการปะทะสัมพันธ์
(Interaction) ระหว่างตัวแปรในมิติต่างๆ
เหล่านี้ มิติทั้ง 3 ได้แก่ มิติด้านการเรียน
การสอน มิติด้านสถาบัน และมิติด้านพฤติกรรม
1. มิติด้านการสอน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 5 ตัวแปร
คือ
1.1 การจัดชั้นเรียนและตารางสอน
คือการจัดครูและนักเรียนให้พบกันและดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน
ซึ่งการจัดในส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงเวลาและสถานที่
1.2 เนื้อหาวิชา หมายถึง
เนื้อหาวิชาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน
การจัดลำดับเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับวุฒิภาวะของผู้เรียนและชั้นเรียนแต่ละระดับ
1.3 วิธีการ หมายถึง หลักการเรียนรู้
การออกแบบกิจกรรมการเรียน รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
1.4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
หมายถึง สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และอุปกรณ์พิเศษ
ห้องปฏิบัติการ วัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ
รวมถึงสิ่งที่มีผลต่อการใช้หลักสูตร และการสอนด้านอื่นๆ
1.5 งบประมาณ หมายถึง
เงินที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน
การซ่อมแซม เงินเดือนครู
ค่าจ้างบุคลากรที่จะทำงานการใช้หลักสูตรประสบความสำเร็จ
2. มิติด้านสถาบัน ประกอบด้วยตัวแปรที่ควรคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร 5 ตัวแปร คือ
2.1 นักเรียน
มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ อายุ เพศ
ระดับชั้นที่กำลังศึกษา ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สุขภาพกายและสุขภาพจิต
ภูมิหลังทางครอบครัว
2.2 ครูมีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงในการประเมินหลักสูตร
ได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการสอน เงินเดือน
กิจกรรมที่ทำเวลาว่างการฝึกอบรมเพิ่มเกี่ยวการใช้หลักสูตรในช่วงระยะเวลา 1-3 ปี และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
2.3 ผู้บริหาร หมายถึง มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร
ได้แก่ อายุ เพศ
วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการศึกษา
เงินเดือน ลักษณะทางบุคลิกภาพ
การฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรในช่วงระยะเวลา 1-3 ปี
และความพึงพอเคยใจในการปฏิบัติงานด้านวิชาการ
2.4 ผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร
ได้แก่ อายุ เพศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ลักษณะของการให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือ
ลักษณะทางบุคลิกภาพและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
2.5 ครอบครัว
มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ สถานภาพสมรส ขนาดครอบครัว
รายได้ สถานที่อยู่ การศึกษา การเป็นสมาชิกของสมาคม การโยกย้าย
จำนวนบุตรที่อยู่ในโรงเรียนนี้ และจำนวนญาติที่อยู่ร่วมโรงเรียน
2.6 ชุมชน
มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ สถานภาพชุมชน
จำนวนประชากร การกระจายของอายุของประชากร ความเชื่อ (ค่านิยม ประเพณี ศาสนา)
ลักษณะทางเศรษฐกิจ สภาพการให้บริการสุขภาพอนามัย และการรับนวัตกรรมเทคโนโลยี
3. มิติด้านพฤติกรรม มีองค์ประกอบของพฤติกรรม 3 ด้าน คือ
พฤติกรรมด้านความ (Cognitive Domain) พฤติกรรมด้านทักษะ (Psychomotor
Domain) และพฤติกรรมด้านเจตคติ (Affective
Domain)
แนวคิดการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ เริ่มด้วยการประเมินหลักสูตรที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การตัดสินใจ แล้วจึงเริ่มกำหนดทิศทางและกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
ควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตรมีดังนี้
1.
กำหนดสิ่งที่ต้องการประเมินควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร
เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และจำกัดระดับชั้นเรียน
2. กำหนดตัวแปรในมิติการสอนและมิติสถาบันให้ชัดเจน
3. กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยระบุถึง 1. พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงว่าประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนด 2. เงื่อนไขของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น 3.
เกณฑ์ของพฤติกรรมที่บอกให้รู้ว่านักเรียนประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์มากน้อยเท่าใด
4. ประเมินพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
ผลที่ได้จากการประเมินจะเป็นตัวกำหนดพิจารณาหลักสูตรที่ดำเนินใช้อยู่เพื่อตัดสิน
รวมทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
5. วิเคราะห์ผลภายในองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ
เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมแท้จริงที่เกิดขึ้น
ซึ่งจะเป็นผลสะท้อนกลับไปสู่วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ตั้งไว้ และเป็นการตัดสินใจว่าหลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด
6. พิจารณาสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
แนวคิดในการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ใช้แนวคิดจองไทเลอร์เป็นพื้นฐานในการกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
และการการใช้ข้อมูลจากการประเมินผลในการปรับปรุงจุดประสงค์ของหลักสูตรนั้น
แต่แฮมมอนด์ในแนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ตัวแปรของมิติด้านการสอน
และมิติด้านสถาบันซึ่งอาจมีผลต่อความสำเร็จของหลักสูตรนั้นด้วย
9.5 รูปแบบการประเมินหลักสูตรของโพรวัส (Provus,
Discrepancy Evalution Model)
โพรวัส
ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการประเมินหลักสูตรซึ่งเรียกว่า “การประเมินผลความแตกต่างหรือการประเมินความไม่สอดคล้อง”
(Discrepancy Evalution) ซึ่งจะประเมินหลักสูตรทั้งหมด 5
ส่วน คือ 1. การออกแบบ (Desingn) 2.
ทรัพยากรหรือสิ่งที่เริ่มตั้งไว้เมื่อใช้หลักสูตร (Installation) 3. กระบวนการ ( Process ) 4. ผลผลิตของหลักสูตร
(Products ) 5. ค่าใช้จ่ายหรือผลตอบแทน
(Cost)
ในแต่ละส่วนจะมีขั้นตอนการประเมินผลโดยจะดำเนินการเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ผู้ประเมินจะต้องกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน
(Standards – S)
ของสิ่งที่ต้องการวัดก่อน เช่น มาตรฐานด้านเนื้อหา เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ผู้ประเมินต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือการปฏิบัติจริงของสิ่งที่ต้องการวัด
(Performance – P)
ขั้นที่ 3 ผู้ประเมินนำข้อมูลที่รวบรวมได้ขั้นที่ 2
มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 1 (Compare – C)
ขั้นที่ 4 ผู้ประเมินศึกษาความแตกต่าง
หรือความไม่สอดคล้องระหว่างผลการปฏิบัติจริงกับเกณฑ์มาตรฐาน
(Discrepancy – D)
ขั้นที่ 5 ผู้ประเมินส่งผลการประเมินไปให้ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรว่าจะเลิกการใช้หลักสูตรที่ประเมิน
หรือปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติ หรือเกณฑ์มาตรฐานให้คุณภาพดีขึ้น
( Decision Making )
S = Standard เป็นขั้นแรกของการประเมินหลักสูตร
กล่าวคือ ประเมินผลต้องตั้งสิ่งมาตรฐานที่ต้องการวัดไว้ก่อน
P = Performance หลักจากดำเนินการขั้นแรกเรียบร้อยแล้ว
ผู้ประเมินจะต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือการปฏิบัติจริง
ในสิ่งที่ต้องการวัดให้เพียงพอ ข้อมูลที่รวบรวมความเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมที่ชัดเจน
C = Compare เมื่อตั้งมาตรฐานและรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว
ก็นำข้อมูลมาเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้
D = Discrepancy จากการเปรียบเทียบข้อมูลกับมาตรฐานที่กำหนดไว้
ผู้ประเมินพบว่ามีช่องว่างอะไรที่เกิดขึ้นกับผลที่คาดหวัง
D = Decision
Making ผู้ประเมินจะส่งผลผลประเมินไปให้ผู้ที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งขั้นตอนการประเมินดังกล่าว สามารถอธิบายเป็นรูปแบบดังนี้
แบบการประเมินผลหลักสูตรของโพรวัสนี้ นับว่าสะดวกแก่การประเมินหลายประเภทและเป็นกระบวนการที่ให้เห็นถึงผู้บริหารจะตัดสินใจ
จะใช้หรือไม่ หรือจะปรับปรุงเพิ่มเติม
หรือจะหยิบยกข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งมาพิจารณา
สรุป(Summary)
การประเมินหลักสูตรอาจถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร
เป็นขั้นตอนที่ชี้ให้เราได้ทราบว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาเป็นรูปเล่มและนำไปใช้แล้วนั้นประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
มีข้อดี ข้อบกพร่องอะไรบ้างที่ต้องแก้ไขปรับปรุง
การประเมินเป็นการพิจารณาคุณค่าของหลักสูตรโดยอาศัยวิธีการต่างๆ
ในการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงนำมาวิเคราะห์และสรุป
ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป
เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ประเมินต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในจุดมุ่งหมาย
สิ่งที่จะประเมิน และวิธีการประเมิน ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง
เพราะจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรมีอยู่หลายประการ สิ่งที่ควรได้รับการประเมินก็ครอบคลุมหลายองค์ประกอบ
รวมทั้งรูปแบบการประเมินก็มีอยู่หลายหลาก ผลจากการประเมินหลักสูตรนั้นย่อมมีคุณประโยชน์ทั้งต่อผู้บริหารและผู้ใช้หลักสูตรตลอดจนประสิทธิภาพของการศึกษา
หากการประเมินกระทำอย่างเป็นระบบมีเป้าหมายและมีวิธีการที่ชัดเจนเป็นที่น่าเชื่อถือ
เมื่อนำไปปรับปรุงแล้วย่อมให้หลักประกันว่าหลักสูตรมีคุณภาพดี ดังนั้น
กระบวนการจัดทำการประเมินหลักสูตรจึงเป็นกระบวนการและขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำอย่างรอบคอบในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง
วิธีการและขั้นตอนในการประเมินจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
จึงทำให้ได้ผลประเมินที่ถูกต้องเที่ยงตรงเป็นจริง
และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรโดยแท้
ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)
1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร
2. การประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้มีจุดประสงค์สำคัญคืออะไร
กิจกรรม(Activity)
1. ฝึกปฏิบัติวางแผนการประเมินหลักสูตรครอบคลุมกระบวนการหลักสูตรทั้งหมด
2. ฝึกเขียนระบุเกณฑ์คุณภาพหลักสูตรที่พึงประสงค์
3. เขียนรายงานการประเมินโดยย่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น