รูปแบบการประเมินหลักสูตรของโพรวัส
(Provus,Discrepancy
Evalution Model)
โพรวัสได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการประเมินหลักสูตรซึ่งเรียกว่า
“การประเมินผลความแตกต่างหรือการประเมินความไม่สอดคล้อง”
(Discrepancy Evalution) ซึ่งจะประเมินหลักสูตรทั้งหมด 5 ส่วน คือ
1.การออกแบบ(Desingn)
2.ทรัพยากรหรือสิ่งที่เริ่มตั้งไว้เมื่อใช้หลักสูตร (Installation)
3.กระบวนการ (Process)
4.ผลผลิตของหลักสูตร(Products)
5.ค่าใช้จ่ายหรือผลตอบแทน (Cost)
ในแต่ละส่วนจะมีขั้นตอนการประเมินผลโดยจะดำเนินการเป็น
5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่
1 ผู้ประเมินจะต้องกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน (Standards-S)ของสิ่งที่ต้องการวัดก่อน
เช่น มาตรฐานด้านเนื้อหา เป็นต้น
ขั้นที่
2
ผู้ประเมินต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือการปฏิบัติจริงของสิ่งที่ต้องการวัด
(Performance-P)
ขั้นที่
3 ผู้ประเมินนำข้อมูลที่รวบรวมได้ขั้นที่ 2
มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 1 (Compare-C)
ขั้นที่
4 ผู้ประเมินศึกษาความแตกต่าง
หรือความไม่สอดคล้องระหว่างผลการฏิบัติจริงกับเกณฑ์มาตรฐาน (Discrepancy-D)
ขั้นที่
5
ผู้ประเมินส่งผลการประเมินไปให้ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรว่าจะเลิกการใช้หลักสูตรที่ประเมิน
หรือปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติ หรือ เกณฑ์มาตรฐานให้คุณภาพดีขึ้น (Decision
Making)
S=
Standard เป็นขั้นแรกของการประเมินหลักสูตร คือ
การตั้งสิ่งมาตรฐานที่ต้องการวัด
P=
performance การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานในสิ่งที่ต้องการวัดให้เพียงพอ
ข้อมูลที่รวบรวมต้องเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมที่ชัดเจน
C= Compare การนำข้อมูลมาเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้
D=
Discrepancy จากการเปรียบเทียบข้อมูลกับมาตรฐานที่กำหนดไว้
ผู้ประเมินพบว่ามีช่องว่างอะไรที่เกิดขึ้นกับผลที่คาดหวัง
D= Decision Making ผู้ประเมินจะส่งผลประเมินไปให้ผู้ที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
กระบวนการในการตัดสินใจการประเมินของโพรวัส
แบบการประเมินผลหลักสูตรของโพรวัสนี้
นับว่าสะดวกแก่การประเมินหลายประเภทและเป็นกระบวนการที่ให้เห็นถึงผู้บริหารจะตัดสินใจ
จะใช้หรือไม่ หรือจะปรับปรุงเพิ่มเติม หรือจะหยิบยกข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งมาพิจารณา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น