รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์ ( Tyler)




รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์ ( Tyler)



              ไทเลอร์เป็นผู้ที่วางรากฐานการประเมินหลักสูตร โดยให้แนวคิดว่าการประเมินหลักสูตรเป็นการเปรียบเทียบว่า พฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยมีกระบวนการจัดการศึกษา 3 ส่วน คือ จุดมุ่งหมายทางการศึกษา การจัดประสบการณ์เรียนรู้ และการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 

               แนวคิดของไทเลอร์เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรยึดความสำเร็จของจุดมุ่งหมายเป็นหลัก
 ไทเลอร์มีความเห็นว่า จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรคือ
               1.เพื่อตัดสินว่าจุดมุ่งหมายของศึกษาที่ตั้งไว้ในรูปของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั้นประสบผลสำเร็จหรือไม่
               2.เพื่อการประเมินค่าความก้าวหน้าทางการศึกษาของกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ เพื่อให้สาธารณะชนได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเข้าใจปัญหาความต้องการของการศึกษา

               ไทเลอร์ได้จัดลำดับการเรียนการสอนและการประเมินผลดังนี้
                    1.กำหนดจุดมุ่งหมายอย่างกว้างๆ โดยวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆคือ นักเรียน สังคม และเนื้อหาสาระ
                    2.กำหนดจุดประสงค์เฉพาะอย่างชัดเจน
                   3.กำหนดเนื้อหาหรือประสบการณ์การเรียนรู้
                   4.เลือกวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสม
                    5.ประเมินผลโดยการตัดสินใจด้วยการวัดผลทางการศึกษา
                    6.หากหลักสูตรไม่บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ก็จะต้องมีการตัดสินใจที่จะยกเลิกหรือปรับปรุงหลักสูตรนั้น

                สรุป การประเมินหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์จะเห็นว่า เป็นการยึดความสำเร็จของผู้เรียนส่วนใหญ่ เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน โดยอาศัยการวัดพฤติกรรมก่อนและหลังเรียน และมีการกำหนดเกณฑ์ไว้ก่อนล่วงหน้าว่าความสำเร็จใดจึงจะประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ การประเมินผลในลักษณะนี้จึงเป็นการประเมินผลสรุปมากกว่าการประเมินผลความก้าวหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น